วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Spread Price ช่วงราคาหุ้น .... มันมีอะไรซ่อนอยู่

     นักลงทุนทุกคน รู้กัน อยู่แล้วว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ประกาศใช้ ช่วงราคา ของหุ้นในตลาดฯ   ไว้ทั้งหมด 8 ระดับราคา  โดยแต่ละระดับราคา มีมูลค่าของช่วงราคาที่แตกต่างกันไป (ตามภาพ)  เช่น ราคาหุ้นที่ต่ำกว่า 2 บาท ช่วงราคาละ 0.01 บาท  เท่านั้น ค่อยๆ ขึ้น พอราคาหุ้นเป็น 2 บาท ราคาถัดไป จะเปลี่ยนช่วงราคาเป็น 0.02 บาท ราคาถัดไป จึงกลายเป็น 2.02 บาท ไปจนราคาถึง 5 บาท ก็จะเปลี่ยนขยับช่วงราคาขึ้นเป็น 0.05 บาท ไป เรื่อยๆ จนถึงระดับราคา ที่มากที่สุดคือ หุ้นตั้งแต่ 400 บาทขึ้นไป ช่วงราคาเป็น ช่วงละ 2.00 บาท



         ประเด็นที่จะถาม ก็คือ เห็นช่วงราคาแบบนี้ เห็นอะไรไหม  เห็นโอกาสทำกำไร กันไหม Opportunity น่ะ เห็นกันไหม  .....   นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่เห็น กันหรอก เพราะจะมองว่า  ช่วงราคาที่ประกาศไว้นี้ ก็เป็น กติกาของ ตลาดหลักทรัพย์ ฯ....

        ผมจะทำอะไร ให้ดู  จะลองทำเอง ก็ได้ จะได้เข้าใจ  เอาข้อมูลช่วงราคา ไปใส่ ใน Excel กัน 
คือ แบบว่า อยากรู้ว่า แต่ละช่วงราคา มันมีการเพิ่มขึ้นของราคา เป็น กี่ เปอร์เซ็นต์กัน แน่ 

        มาดู ะดับราคา ที่ 1 กัน ราคาช่วงนี้ เริ่มต้นที่ 0.01 บาท จนถึง 1.99 บาท เพิ่มขึ้นช่วงละ 0.01 บาท
ซึ่ง ช่วงราคา 0.01 บาท นี้ เพิ่มขึ้นจาก ราคาเริ่มต้น 100% ( 0.01 / 0.01)  และ คิดเป็น 0.05% ของ ราคา 1.99 บาท (0.01 / 1.99 x100% = 0.5%)  และ ระดับราคานี้ จาก 0.01 บาท ไปจนถึง 1.99 บาท ราคาจะต้องขยับ 199 ครั้ง ถึงจะผ่านพ้นช่วงราคานี้
        เพื่อความเข้าใจมากขึ้น   มาดู ระดับราคาที่ 2  ราคาเริ่มต้น 2.00 บาท จนถึง 4.98 บาท เพิ่มขึ้นช่วงละ 0.02 บาท   ก็หมายความว่า ช่วงต้นของระดับราคา ที่ 2 บาท ราคาเพิ่มขึ้น ช่วงละ 0.02 / 2   = 1%
แล้วพอราคาไป จนถึงช่วงสุดท้าย คือ 4.98 บาท ราคาเพิ่มเป็น 5.0 บาท แสดงว่าราคาเพิ่มขึ้น = 0.02/5.0 = 0.4%     และใช้ระยะทางในการขยับ 150 ช่องราคา ราคาถึงจะข้ามไปในระดับราคาถัดไป  



          ก็แสดงว่า ในช่วงต้นๆ ของทุกๆช่วงราคา จะมี  %ที่เพิ่มขึ้น ของราคาสูงมากกว่า ช่วงปลายๆ ของช่วงราคาก่อนที่จะข้ามช่วงราคา ไปช่วงราคาถัดไป 


          ดูในตารางกันให้ดีๆ  จะเห็นว่า ระดับราคาที่ 3 เริ่มต้นจาก 5 บาท ไป 10 บาท นั้น เป็นระดับราคาที่ มีจำนวนช่องน้อยที่สุด  ... เรียกว่ามีระยะทางสั้นที่สุด   ... ราคาวิ่ง ขึ้นไป เท่าไหร่ (100 ช่อง)  ก็ข้ามระดับราคาไป ระดับราคาถัดไปได้แล้ว

          ข้อสังเกตต่อไป  ระดับราคา ที่ 2 (2 ไป 5 ) ระดับราคาที่ 3 (5 ไป 10 ) ระดับราคาที่ 4 (10 ไป 25) และระดับราคาที่ 5 (25 ไป 100)  ทั้ง 4 ระดับ ราคา มีการเพิ่มขึ้นของช่องราคา ในตอนเริ่มต้นสูง ถึง 1% ต่อช่วงราคา    ในขณะที่ ระดับราคา ของหุ้นที่ราคาแพงๆ 100 บาท ขึ้นไป มี ช่วงราคาเพิ่มขึ้นเริ่มต้น เพียงแค่ 0.50%เท่านั้น  (น้อย โคตรๆ .... ซื้อไป แล้วเมื่อไหร่ มันจะกำไรเยอะๆ )

          ทุกๆระดับราคา จะเหมือนกัน คือ เมื่อราคาขยับเพิ่มขึ้นเข้าใกล้ ท่อนปลาย ของระดับราคา %ราคาที่เพิ่มขึ้นก็จะลดน้อยถอยลงไป  เป็น 0.5% บ้าง  0.4% หรือ บางระดับราคาแค่ 0.25% เท่านั้นเอง

            คราวนี้ พอจะรู้แล้วใช่ไหม ว่า ถ้าซื้อหุ้นแล้วหวังเก็งกำไร จากส่วนต่างของราคา ควรจะซื้อหุ้นที่ ระดับราคาไหน  .... 


             มีอีกเคล็ดลับ  มาเปิดเผย .... นักลงทุน ทุกคน รู้เหมือนกันว่า  ราคาหุ้นทุกวัน จะมีการกำหนด Floor Price และ Ceiling Price  โดยคิดจาก ราคาปิด (Close Price) ของวันก่อนหน้า และนำมา ลบ ออก 30% เป็น ราคา Floor Price   และ บวก เพิ่ม อีก 30% เป็นราคา Ceiling Price  ....

            แล้วไง .... มันก็เรื่องปกติ ที่เห็นกันอยู่ทุกวัน   .... แปลกตรงไหน
            
             ถามง่ายๆ นะ เคยนับ ช่วงราคากันไหม ว่า ราคาปิด เป็นแบบนี้ แล้ววันรุ่งขึ้น ราคาลิ่ง (Ceiling) มันเป็น ระยะทาง เท่าไหร่ ....   ไม่ได้ถาม ว่า ราคาเป็นเท่าไหร่ แบบนั้น ใครก็คำนวณเป็น ...
เอากันชัดๆ นะ  ถามว่า จากราคาปิด วันก่อนหน้า ราคาจะต้อง ขยับขึ้น กี่ ช่อง  ถึงไปจะถึง ราคา Ceiling Price   ...   เคยนับกันไหม   .....  อั๊ยยะ !!!  

           แต่ละคนเทรดหุ้นกันมา .... มันต้องมีความอยาก จะได้หุ้นลิ่ง กันสักครั้ง ... สิน่า   .... แต่บางคน ทำไม มันลิ่ง กันได้ แทบทุกวัน ...   ฮึฮึ  ..... 

           ที่จะอธิบายตรงนี้ มันเป็นโอกาส  ในการเทรด ที่หลายคนมองข้ามไป ....  ถาม ง่ายๆ แบบนี้ นะ 
หุ้นทุกตัว มันมี Ceiling Price ที่ + 30% ของราคาปิด วันก่อนหน้ากันเหมือนๆ กันทุกตัว

            แต่ถ้ามีหุ้น ที่เปิดตลาดมา แล้วออกตัว วิ่งแรงๆ  2 ตัว  ตัวแรก ต้องวิ่ง 54 ช่อง ถึงจะ ลิ่ง  
กับอีกตัว วิ่งแค่ 34 ช่อง แล้วได้ลิ่ง   ..... จะเลือกซื้อตัวไหน ...  คำตอบมันชัดอยู่แล้ว   ....  ใช่ไหม

             เกิดอะไร ขึ้น ทำไม ราคาที่เพิ่มขึ้น 30%เท่ากัน มันวิ่งด้วยจำนวนช่อง ที่ไม่เท่ากัน  คำตอบมันอยู่ที่ การเปลี่ยนข้ามช่วงราคา ในระยะ 30%  

            ไป ดู ตัวอย่าง  จะคำนวณให้ดู เทียบกัน ระหว่าง  หุ้น 3 ตัว มีราคาปิด วันก่อนหน้า เป็น  3.84 บาท,  4.00 บาท และ 4.80 บาท ตามลำดับ  จะเห็นว่า ราคาหุ้น ทั้ง 3 ราคา แทบไม่แตกต่างกันเลย  
 แต่ จำนวนช่อง ในการ วิง่ไป หา Ceiling Price มัน ต่างกัน เอาเรื่องอยู่นะ  .... 





        เห็นแบบนี้แล้ว ..... อยากจะ เทรด ซิ่ง ... ให้ได้ ลิ่ง กับเขาบ้าง   คงพอจะไหว รึเปล่า .... 
    
        ยังไงก็ตามตรงนี้ ก็เป็นแค่ข้อสังเกตุ เล็กๆ ...  หุ้นมันจะลิ่งหรือไม่ มันก็อยู่ที่แรงซื้อ ที่จะมาผลักดันราคาอยู่ดี  ต่อให้ ระยะทางสั้น แต่ ไม่ใครมาซื้อ มาซิ่ง ... มันก็ไม่มีทางลิ่ง แน่นอน ...

        แต่จะให้เทรด ซิ่งแค่ไหน  เรื่องของ Stop Loss และการจัดการความเสี่ยงในการเทรด และวินัย ในการเทรด ก็ยังเป็นเรื่อง สำคัญที่สุดอยู่ดี   .... 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แค่หกส่วนก็พอ

ที่กรุงไทเปมีผู้รับเหมาก่อสร้างคนหนึ่ง  เป็นคนหนุ่มที่ชาญฉลาดที่รู้กันทั้งวงการ  มีหัวการค้าเป็นเลิศ  ทำงานคล่องแคล่วว่องไว  พร้อมลุยงานหนัก...