ในหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยผ่านสภาวะวิกฤติมาหลายต่อหลายครั้ง ... บ้างก็เป็นวิกฤติเศรษฐกิจจากต่างประเทศ บ้างก็เป็นวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทยเอง บางครั้งก็มาจากภัยธรรมชาติ หรือการก่อวินาศกรรม และอีกหลายครั้งมากจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ในเหตุการณ์แต่ละครั้งมีผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และการลงทุนในประเทศ มีทั้งหนักเบา ระยะสั้นยาว แตกต่างกันไปตามแต่ละเหตุการณ์
บางวิกฤติเป็นเหตุการณ์ที่ค่อยๆ เกิดสามารถคาดการณ์ผลกระทบได้ อาจจะไม่เกิดการตกใจเทขายกันรุนแรง แต่จะค่อยๆ ลงลึกยาวนาน ก่อนลงและระหว่างลงจะมีสัญญาณทางปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยทางเทคนิคเตือนให้เห็นก่อนล่วงหน้า และระหว่างทางเห็นระยะๆ ทำให้เราสามารถปรับพอร์ทการลงทุนได้ทัน
แต่สภาวะวิกฤติที่เกิดเป็นข่าวร้าย แบบฉับพลันทันที มวลชนส่วนใหญ่ตกใจ และมีความกังวลราคาหุ้น ส่วนมากจะถดถอยลง รวดเร็วและรุนแรง จากการตกใจขาย ตอบรับกับข่าวร้ายทันที ในกรณีแบบนี้ สิ่งที่นักลงทุนเองจะต้องทำ คือ การมีสติ คิดวิเคราะห์อย่างรอบคอบ อาจจะต้องดูสภาพโดยรวมของตลาดด้วยว่าเป็นอย่างไร เป็นขาขึ้น หรือขาลง หรือยังไม่ทิศทางชัดเจน ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น เตรียมรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดตามมา หากสภาพตลาดเป็นขาขึ้นอยู่ การตกใจแบบนั้นจะส่งผลระยะสั้น ลงเร็วรุนแรง และจะเด้งกลับอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในหุ้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เลย ราคาอาจลงน้อยมาก แต่ถ้าสภาพตลาดเป็นขาลงอยู่แล้ว หรือไม่ชัดเจนรอการตัดสินใจ ข่าวร้ายแบบนี้จะยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเทขายอย่างรุนแรง ลงลึก หรือเปิดกระโดดที่แนวรับถัดลงไปเลยก็ได้ แล้วเด้งกลับขึ้นมาจากแรงซื้อบางส่วน ซึ่งจะเด้งไม่แรงนัก และพร้อมจะลงต่อได้ด้วย
ดังนั้นนักลงทุนเอง ต้องวิเคราะห์ แยกแยะเหตุการณ์ และข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมา อย่างมีสติ และมีวิจารณญาณอย่างดี ข้อมูล (Information) ต่างๆ ที่ได้รับมาในปัจจุบันค่อนข้างรวดเร็ว และขาดการตรวจสอบกลั่นกรอง โดยเฉพาะจาก Social Media ต่างๆ ที่แชร์ส่งต่อกันมา แนะนำให้ แยกข้อมูลออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. ความจริง (Facts)
2.ความคิดเห็น หรือการคาดการณ์ (Comments or Forecasts)
3. รายงานข่าว (News or Announcement)
4. ข่าวลือ (Rumors)
ความจริง (Facts) เป็นข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบโดยตรงต่อสถานการณ์ เช่น มีการปิดถนน ยึดสนามบิน ทำให้ไม่สามารถเดินทางได้ หรือภัยธรรมชาติ กระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร หรือการดำเนินธุรกิจ หรือการปรับลดหรือเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันดิบ หรือเปลี่ยนแปลงค่าระวางเรือ Facts จะกระทบพื้นฐานของกิจการ หรือโดนผลประกอบการตรงๆ ก็จะทำให้ราคาหุ้นที่โดนกระทบตรงๆ ปรับตัวลงอย่างแรง แต่กิจการที่โดนกระทบทางอ้อมก็จะมีอาการตกใจลงด้วย
ความคิดเห็นหรือการคาดการณ์ (Comments or Forecasts) จะเห็นบทวิเคราะห์ หรือการคาดการณ์อนาคตต่างๆ จากสถาบันทางเศรษฐกิจ การเงินต่างๆ หรือจากนักวิเคราะห์ นักวิชาการต่างๆ เช่น การคาดการณ์ยอดการส่งออกประจำปี หรือประเมินตัวเลข GDP ของประเทศ หรือความคิดเห็นจากนักวิชาการต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ข้อมูลเหล่านี้ ล้วนเป็นการคาดเดา อนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง เอามาประกอบการตัดสินใจในแนวโน้มระยะยาวพอได้ แต่ไม่มีผลกระทบอะไรรุนแรง
รายงานข่าว (News or Announcement) คือ รายงานผลประกอบการ หรือข่าวที่นำเสนอรายละเอียดเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้ว หลายครั้งราคาหุ้นมักจะเกิดการรับรู้ผลประกอบการไปก่อนหน้าแล้ว จนราคาขึ้นมา overvalue กลายเป็นว่า ข่าวดีมา แต่ราคาขึ้นนิดหน่อย หรือราคาลง หรือข่าวดีที่รายงานผลประกอบการออกมาดี แต่ตลาดรับรู้ผลซื้อขายกันไปหมดแล้ว หลังจากประกาศผลประกอบการออกมา ราคาก็จะขยับเพราะข่าวไม่มากแล้ว แต่ถ้าเป็นผลประกอบการเลวร้าย ก่อนประกาศผลจะราคาจะลงจากการคาดการณ์รอบหนึ่ง พอประกาศผลประกอบการออกมาว่าแย่จริงๆ ราคาก็จะโดนเทขายอีกรอบหนึ่ง หรือกรณีที่เป็นการแถลงข่าวที่มีผลกระทบกับเศรษฐกิจโดยตรง เช่น ข่าวยุบสภา หรือปรับคณะรัฐมนตรี เป็นต้น ก็จะมีผลกับอารมณ์ตลาดโดยรวม
สุดท้าย ข่าวลือ (Rumors) ข้อมูลพวกนี้ ส่วนมากจะมาตามสื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่มีที่มาของแหล่งข่าว ส่งต่อๆ กันมา โดยที่คนส่งก็ไม่ได้ตรวจสอบว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ เห็นในมือถืออ่านแล้วตกใจ ชอบใจ สะใจ ก็กดแชร์ออกไปเลย ข้อมูลพวกนี้กระจายรวดเร็ว แพร่ออกไปอย่างขาดสติ หลายครั้งข่าวลือพวกนี้ทำให้ราคาหุ้นโดนขายกดลงมาอย่างรุนแรง
หากนักลงทุนควรประเมินว่า ข้อมูลที่ได้รับมาเป็นข้อมูลประเภทไหน มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นโดยรวม หรือกระทบราคาหุ้นเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม หรือกระทบเฉพาะกิจการบางแห่งเท่านั้น หรือเป็นเพียงข่าวลือ ที่กระทบใจคน ไม่ได้มีผลกระทบต่อพื้นฐานของกิจการ อาจจะเป็นจังหวะที่ดี ที่นักลงทุนจะได้เข้าซื้อของดีราคาถูกก็ได้ ... แต่หากเพิ่งเข้าซื้อหุ้นบางตัวไป แล้วตลาดตกใจในข่าวจนราคาหุ้นที่เราเพิ่งซื้อจนราคาหลุดต่ำกว่า Stop Loss เราทำแผนไว้ก็ต้องทำตามวินัยขายทิ้งไปตามแผน แล้วค่อยใช้กราฟเทคนิคหาจังหวะดีๆ ใหม่อีกครั้ง ถ้าเป็นหุ้นที่ถือลงทุนมาพอสมควรแล้ว ก็พิจารณาผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากมีผลกระทบไม่ดีโดยตรง ก็ควรขายออกให้เร็ว มีผลกระทบบ้างจะทยอยขายทำกำไรไปบ้างก็ได้ไม่ว่ากัน หรือไม่มีผลกระทบเลยแต่ลดราคาลงมาให้เยอะจะซื้อเก็บเพิ่มก็ไม่มีใครว่ากัน ...
ในสภาวะวิกฤติ มีโอกาสอยู่เสมอ รับทราบข้อมูลอะไรมาแล้ว ตั้งสติให้ดี อย่ามัวแต่ตกใจ หรือตื่นเต้นดีใจ แชร์ให้คนนั้นคนนี้ แต่ปล่อยจังหวะดีๆ ที่จะต้องซื้อหรือขาย ให้ผ่านเลยไปอย่าน่าเสียดาย....
ความจริง (Facts) เป็นข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบโดยตรงต่อสถานการณ์ เช่น มีการปิดถนน ยึดสนามบิน ทำให้ไม่สามารถเดินทางได้ หรือภัยธรรมชาติ กระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร หรือการดำเนินธุรกิจ หรือการปรับลดหรือเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันดิบ หรือเปลี่ยนแปลงค่าระวางเรือ Facts จะกระทบพื้นฐานของกิจการ หรือโดนผลประกอบการตรงๆ ก็จะทำให้ราคาหุ้นที่โดนกระทบตรงๆ ปรับตัวลงอย่างแรง แต่กิจการที่โดนกระทบทางอ้อมก็จะมีอาการตกใจลงด้วย
ความคิดเห็นหรือการคาดการณ์ (Comments or Forecasts) จะเห็นบทวิเคราะห์ หรือการคาดการณ์อนาคตต่างๆ จากสถาบันทางเศรษฐกิจ การเงินต่างๆ หรือจากนักวิเคราะห์ นักวิชาการต่างๆ เช่น การคาดการณ์ยอดการส่งออกประจำปี หรือประเมินตัวเลข GDP ของประเทศ หรือความคิดเห็นจากนักวิชาการต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ข้อมูลเหล่านี้ ล้วนเป็นการคาดเดา อนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง เอามาประกอบการตัดสินใจในแนวโน้มระยะยาวพอได้ แต่ไม่มีผลกระทบอะไรรุนแรง
รายงานข่าว (News or Announcement) คือ รายงานผลประกอบการ หรือข่าวที่นำเสนอรายละเอียดเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้ว หลายครั้งราคาหุ้นมักจะเกิดการรับรู้ผลประกอบการไปก่อนหน้าแล้ว จนราคาขึ้นมา overvalue กลายเป็นว่า ข่าวดีมา แต่ราคาขึ้นนิดหน่อย หรือราคาลง หรือข่าวดีที่รายงานผลประกอบการออกมาดี แต่ตลาดรับรู้ผลซื้อขายกันไปหมดแล้ว หลังจากประกาศผลประกอบการออกมา ราคาก็จะขยับเพราะข่าวไม่มากแล้ว แต่ถ้าเป็นผลประกอบการเลวร้าย ก่อนประกาศผลจะราคาจะลงจากการคาดการณ์รอบหนึ่ง พอประกาศผลประกอบการออกมาว่าแย่จริงๆ ราคาก็จะโดนเทขายอีกรอบหนึ่ง หรือกรณีที่เป็นการแถลงข่าวที่มีผลกระทบกับเศรษฐกิจโดยตรง เช่น ข่าวยุบสภา หรือปรับคณะรัฐมนตรี เป็นต้น ก็จะมีผลกับอารมณ์ตลาดโดยรวม
สุดท้าย ข่าวลือ (Rumors) ข้อมูลพวกนี้ ส่วนมากจะมาตามสื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่มีที่มาของแหล่งข่าว ส่งต่อๆ กันมา โดยที่คนส่งก็ไม่ได้ตรวจสอบว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ เห็นในมือถืออ่านแล้วตกใจ ชอบใจ สะใจ ก็กดแชร์ออกไปเลย ข้อมูลพวกนี้กระจายรวดเร็ว แพร่ออกไปอย่างขาดสติ หลายครั้งข่าวลือพวกนี้ทำให้ราคาหุ้นโดนขายกดลงมาอย่างรุนแรง
หากนักลงทุนควรประเมินว่า ข้อมูลที่ได้รับมาเป็นข้อมูลประเภทไหน มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นโดยรวม หรือกระทบราคาหุ้นเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม หรือกระทบเฉพาะกิจการบางแห่งเท่านั้น หรือเป็นเพียงข่าวลือ ที่กระทบใจคน ไม่ได้มีผลกระทบต่อพื้นฐานของกิจการ อาจจะเป็นจังหวะที่ดี ที่นักลงทุนจะได้เข้าซื้อของดีราคาถูกก็ได้ ... แต่หากเพิ่งเข้าซื้อหุ้นบางตัวไป แล้วตลาดตกใจในข่าวจนราคาหุ้นที่เราเพิ่งซื้อจนราคาหลุดต่ำกว่า Stop Loss เราทำแผนไว้ก็ต้องทำตามวินัยขายทิ้งไปตามแผน แล้วค่อยใช้กราฟเทคนิคหาจังหวะดีๆ ใหม่อีกครั้ง ถ้าเป็นหุ้นที่ถือลงทุนมาพอสมควรแล้ว ก็พิจารณาผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากมีผลกระทบไม่ดีโดยตรง ก็ควรขายออกให้เร็ว มีผลกระทบบ้างจะทยอยขายทำกำไรไปบ้างก็ได้ไม่ว่ากัน หรือไม่มีผลกระทบเลยแต่ลดราคาลงมาให้เยอะจะซื้อเก็บเพิ่มก็ไม่มีใครว่ากัน ...
ในสภาวะวิกฤติ มีโอกาสอยู่เสมอ รับทราบข้อมูลอะไรมาแล้ว ตั้งสติให้ดี อย่ามัวแต่ตกใจ หรือตื่นเต้นดีใจ แชร์ให้คนนั้นคนนี้ แต่ปล่อยจังหวะดีๆ ที่จะต้องซื้อหรือขาย ให้ผ่านเลยไปอย่าน่าเสียดาย....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น