.
ทำไม จะไม่เป็นปัญหา พอบอกว่า จะซื้อ 20 บาท Stop 19 บาท ... แล้วก็ซื้อไป 20 บาท ตอนเช้า พอเปิดบ่ายมา ราคาไหลลงมา ที่ 19 บาท เป็น Bid 1 เหมือนจะลองใจกันเลย ว่า ... "เอายังไง ... ตั้งใจแล้วแล้วนี่ จะ Stop ขายทิ้งไหมล่ะ ... หุหุ ...!!! "
สักพักราคามันก็เขย่า 19.0 ... 19.10 .... 19.20 .... 19.10 ... 19.0 ... ทันใดนั้น .... 18.90 ....
เฮ้ย !!! หลุดแล้ว ตกใจอ่ะ .... ขายดีกว่า ราคาขยับ Bid 1 = 18.80 , Offer 1 = 18.90
ไม่ไหวแล้ว ขายดีกว่า แต่ไม่ขาย 18.90 หรอกนะ ตั้งขาย 19.0 ....
แล้ว ตลาดก็ให้สิทธิ์ นั้นทันที .... Match 19.0 แล้วราคา ก็ขยับ 19.0 .... 19.10 ..... 19.20 ... 19.30 ... 19.40 ... ขึ้นไป ปิดตลาดที่ 19.80 .... เป็นไง ช้ำใจไหมล่ะ ....
แล้วคำถาม สุดฮิต ก็ถาโถม เข้ามา .... ทำไม ล่ะ ... ทำไม ...เป็นเยี่ยงนี้ ... กรู ทำอะไร ผิดไปเหรอ ....
.. แล้วความคิด ก็แว๊บ เข้ามา .. "ไปถามพี่ปุย WaveRiders ดีกว่า" ... เข้า ask.fm/WaveRidersPui ถามเลย ... "... พี่ปุยครับ ... เวลาตั้ง Stop Loss แล้วราคามันลงมาที่ Stop เราต้องรอให้จบวันดูราคาปิดก่อน หรือ ขายเลย ล่ะครับ ... "
... คุณรู้ไหม ถ้าเจอคำถาม แบบนี้ ผมจะตอบยังไง... เป็นเมื่อก่อนตอบอธิบายกัน ยาวเหยียดเลย ต้องดู Volume Buy/Sell ยังไง ตั้ง Buffer แนว Stop Loss ไว้กี่ช่อง ... ตอนนี้เหรอ ตอบง่ายครับ ...
หยิบ หนังสือ โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า มาเปิดหน้า 64 อ่านเลย ครับ ..อธิบายไว้ละเอียดเชียว (ฮ่าๆๆ ... ขายของตลอด)
แต่ใครจะรู้ล่ะว่า ที่จริงแล้ว วิธีการวาง Stop Loss แบบเทคนิคอล มันไม่ได้มีแบบเดียว มีอย่างน้อยที่ผมใช้ หรือเคยใช้ บ่อยๆ ก็ยังมี ตั้ง 8 แบบ ที่จะเอามาเล่าสู่กันฟัง
ตั้ง 8 แบบ เชียวรึ .... น่าสนใจละสิ ... มีอะไร บ้าง มาฟังกันแบบสรุปก่อนนะ จะได้รู้ Concept ของแต่ละแบบ
แบบแรก : Initial Stop หรือ Breakout Pyramid
เป็นวิธีการ ง่ายๆ ที่ใช้กับ การวาง Stop Loss ในเวลาที่ราคาหุ้น มีการ Break Out แนวรับหรือแนวต้าน หรือ เวลาที่ราคาหุ้น Break Out ออกจากการพักตัว วิ่งข้ามราคา High Price เราก็วาง Stop Loss ที่แนวราคาที่เป็นจุดกลับตัวของราคาล่าสุดก่อนการ Break out ก็ง่ายๆ แค่นี้เอง ... เนอะๆ!!!แบบสอง : X-Bars Stop
แบบนี้ก็ตามชื่อเลย (X-Bars นะ ไม่ใช่ X-Bra หรือ X-men ) คือ ใช้จุด Low Price ของแท่งราคา ที่ถัดจากแท่งราคา ต่ำลงไป กว่าเดิมอีกกี่แท่ง ถ้าเอาต่ำกว่าลงไป 1 แท่งก็เรียกว่า 1-Bar Stopถ้าเอาต่ำกว่าลงไป 2 แท่งก็เรียกว่า 2-Bars Stop หรือจะเอา 3 แท่ง เป็น 3-Bars Stop
หรือใน หนังสือ โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า (อยู่ในคลื่น 16) เราจะเรียก 3-Bars Stop ว่า Safety Belt
ลองไปอ่านกันดูนะครับ
หรือ อยู่ในบทความ นี้ "จะขึ้นเขา ... อย่าลืมคาดเข็มขัดนิรภัย... จะได้ไม่ติดดอย"
http://waveridersclub.blogspot.com/2013/07/blog-post.html
หรือ อยู่ในบทความ นี้ "จะขึ้นเขา ... อย่าลืมคาดเข็มขัดนิรภัย... จะได้ไม่ติดดอย"
http://waveridersclub.blogspot.com/2013/07/blog-post.html
แบบสาม : MA Stop
ก็เป็นการใช้ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Line) ใช้เป็นแนวราคาในการ Stopใช้เส้น MA ก็ดีนั้น เส้นมันก็ขยับตามราคา ไปเรื่อยๆ ก็ง่ายดี ไม่ต้องกังวลมาก ราคาถอยลงมาหลุด เส้น MA ที่เราเลือกใช้เมื่อไหร่ ก็ขายทิ้ง
แต่ก็มีปัญหา อีกว่า แล้วใช้เส้นค่าเฉลี่ย เท่าไหร่ ดี .... อืม
มันก็มีตั้งหลายแบบ บางคนก็ใช่ SMA (Simple Moving Average) ที่ 10 , 25 , 50 , 100 ก็มี หรือ
บางคน จะใช้ เส้น 5, 15, 35, 90 แบบที่ผม อธิบายไว้ใน หนังสือ โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า ที่เรียกว่า EMA Knights ก็ได้ หรือ ใครจะใช้ เส้นค่าเฉลี่ยแบบพิเศษ ที่เรียกว่า Alligator ซึ่งถูกคิดค้นโดย Dr. Bill Williams ในหนังสือ Trading Chaos ก็ได้ ไม่ว่ากันอยู่แล้ว
อ่านบทความเกี่ยวกับ EMA Knights ได้ที่ นี่
http://waveridersclub.blogspot.com/2010/11/2-5-ema.html
แบบที่สี่ : Resistant / Support Line
แบบนี้เกิดมาจากหลักการที่ว่า " ... เมื่อแนวรับ/แนวต้าน ถูกราคาทะลุผ่านได้ แนวรับจะกลายเป็นแนวต้าน หรือแนวต้านจะกลายเป็นแนวรับ ... "ราคา Break out แนวต้านขึ้นไปได้แล้ว ไม่ควรจะถอยย้อนกลับลงมาใต้แนวต้านนั้น เราจึงใช้แนวต้านที่ราคาทะลุผ่านไปได้เป็น Stop Loss
แต่ว่าหลักการนี้ ควรจะเลือกใช้กับแนวต้านที่มีนัยยะสำคัญ เช่น แนวต้านของ Trading Range ที่ราคาในอดีต วิ่งชนไม่ผ่านมากนานหลายเดือนก็ไม่ผ่านสักที
ลองทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวรับ แนวต้าน ใน บทความนี้
http://waveridersclub.blogspot.com/2012/11/resistant-support-part-2.html
หรือ ใช้กับ การเปิดกระโดด เป็น Gap ที่เป็น Breakaway Gap , Continuous Gap หรือ Exhaustion Gap เป็นต้น ... ถ้าราคากระโดดเป็น Gap แล้ว ก็ไม่ควรถอยลงมาจนราคาปิด Gap
เมื่อเข้าซื้อหลังจากที่ราคาเปิดกระโดด ถ้าวันนั้นหรืออีก 1-2 วันถัดไปราคาถอยลงมาปิด Gap (Gap Filled) ก็ต้อง Stop Loss ทิ้งไป ..
อธิบายไว้ในบทความ เห็นโอกาสในช่องว่าง กันไหม ( Opportunity in Gap )
http://waveridersclub.blogspot.com/2014/01/opportunity-in-gap.html
(หมายเหตุ : ทั้งเรื่องแนวรับ แนวต้าน และ แกป มีอธิบายไว้ใน หนังสือ โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า โดยละเอียด พร้อมมีคลิป ที่ใช้ QR-Code ยิงเปิดดูประกอบได้ด้วย ... จ้า)
แบบที่ห้า : Trend Line - Speed Line Stop
การใช้ Trend Line มาช่วยในการ Stop Loss ก็ทำได้ ในเวลาที่ราคาวิ่งแล้วพักตัว แล้วก็ไปต่อ เราสามารถตีเส้น Trend Line ผ่านจุดลกับตัว ที่ราคาพักตัวนั้น จะได้เส้นเฉียงที่บอก Trend ให้กับเราเมื่อราคาอ่อนตัว อ่อนกำลังลงมาจนไม่สามารถวิ่งอยู่เหนือเส้น Trend Line ที่เราได้ตีไว้ ราคาลงมาเป็นการบอกว่า เราควรจะต้องขาย Stop Loss ออกมาเพื่อความปลอดภัย เพราะไม่รู้ว่า ราคาที่ตก Trend Line นั้น มันแค่อ่อนแรงพักตัว แล้วไปต่อ หรือว่ากลับตัวเปลี่ยนทิศวิ่งเป็นขาลงเลย รึไม่
เมื่อราคาตก Trend Line เราจึงควรขายออกไปก่อน แต่ถ้าตรงกันข้าม ราคา วิ่งแรงขึ้น เชิดชันขึ้นจนราคาออกห่างจาก เส้น Trend Line ไปมากแล้ว แบบนี้เราก็ควรจะตี Speed Line แนบไปกับการพักตัวย่อยๆ ในราคารอบใหม่ เพื่อทำการ Lock Profit เอาไว้
แบบที่ หก : Volatility Stop
Volatility แปลว่า ความไม่แน่นอน ในที่นี้หมายถึง ราคาหุ้นที่มีลักษณะความผันผวน ขึ้นลงไม่แน่นอน หุ้นที่มีการเหวี่ยงตัวขึ้นลง แรงๆ บ่อยๆ ก็จะถือว่าเป็นหุ้นที่มี High Volatility คือ มีความผันผวนสูง ส่วนหุ้นที่เหวี่ยงตัวขึ้นลงไม่รุนแรง ก็เป็น หุ้นที่มี Low Volatilityดังนั้น Tools ที่ใช้ในการ Stop Loss ด้วย Volatility ของราคาหุ้น ก็จะใช้ ATR - Average True Range นำมาคำนวณ และสร้างเครื่องมือมาใช้ในการช่วยวาง Stop Loss เช่น
-- Chandelier Exit by Alexander Elder
-- Volatility Stop by J. Welles Wilder
-- ATR Band by J. Welles Wilder
-- ATR Trailing Stop by Chester Keltner
-- Keltner Channel by Chester Keltner ... เป็นต้น
แบบที่ เจ็ด : Parabolic SAR
Parabolic SAR คำว่า SAR ย่อมาจาก Stop And Reversal เป็น เครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย J. Welles Wilder, Jr. อยู่ในหนังสือ New Concepts in Technical Trading Systems ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1978Parabolic SAR จะสร้างจุดขึ้นมารองรับใต้ แท่งราคา ในเวลาที่หุ้นวิ่งขึ้น และจะกลับไปอยู่ด้านบนของแท่งราคาในเวลาที่หุ้นวิ่งลง ดังนั้นเวลาที่ ราคาหุ้นวิ่งขึ้นอยู่ แล้วพอราคาชะลอตัว SAR จะบีบเข้าหา แท่งราคา เมื่อแท่งราคาไหนที่ถอยทะลุ SAR ได้ SAR หายไปจากด้านล่างของแท่งราคา ไปอยู่ด้านบนของแท่งราคา
เมื่อเกิด SAR กลับข้างถ้า แท่งราคาถัดไปลง ต่ำกว่า Low ของแท่งราคาที่เกิด SAR พลิกกลับ จึงเป็น เวลาที่เหมาะที่จะ ขายหุ้นได้
แบบที่ แปด : Timing Stop
Stop Loss แบบนี้ล่ะ ที่ประหลาดที่สุด เพราะไม่ได้ดูที่ราคา แต่เป็นดูที่เวลา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ก็ควรจะต้อง Stop Loss ขายหุ้น ออกไป โดยดูจากการเคลื่อนที่ของราคาในอดีตที่ผ่านมา นำมาประเมินการวิ่งของราคาในช่วงเวลาถัดไป ว่าจะสามารถวิ่งไปได้ไกล อีกกี่แท่งเมื่อถึงเวลาที่คาดไว้ ก็พิจารณา อาการของราคา หรือ Indicator อีกที ถ้ามีอาการอ่อนแรงให้เห็น ก็ขายออกไปตาม เป้าหมายเวลา
การ Stop Loss ด้วยเวลาแบบนี้ จึงประโยชน์มากกับ การเทรดในสินค้าที่มี Time Dilution เช่น Option เป็นต้น
วิธี ที่ใช้ในการ ทำ Timing Stop หรือ Tempo Stop แบบนี้ ก็มี
-- Time Cycle
-- Fibonacci Time Projection by Elliott Wave
-- Swing Counting by John Crane
-- TD Sequential Count by Thomas DeMark
การเลือกใช้ Stop Loss ให้เหมาะสมกับ สินค้าที่เทรด เหมาะสมกับสไตล์ของตนเอง หรือเหมาะกับ Trade Setup ของตนเอง จึงต้องเลือกใช้ให้เป็น ซึ่งความรู้ในการใช้ Stop Loss แต่ละแบบ ก็สามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเอาได้ จากการ Search ใน Google หรือ YouTube
หรือถ้าใครอยากจะรู้ อยากจะเรียน ก็บอกได้ว่า ผมสอนวิธีการใช้ Stop Loss ทั้งหมดนี้ อยู่ใน อบรม เทคนิคอล ที่จัดที่ Stock2morrow.com โดยสอนกระจายอยู่ใน 3 หลักสูตรการอบรม คือ
1. Technical 4 วัน - สอนมือใหม่ รู้จักใช้เทคนิคอล
http://www.stock2morrow.com/course/courses_list.php?id=4
2. Swing Trade Style - 3 วัน
http://www.stock2morrow.com/course/courses_list.php?id=6
3. Opportunity of Making Profit Technics เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า - 3 วัน
http://www.stock2morrow.com/course/courses_list.php?id=83
สนใจเรียนรู้อะไร ก็ตามไปลองเรียนกันแบบละเอียดลึก แบบใช้งานได้จริงๆ กันเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น