วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ซื้อหุ้นบริษัทเล็กๆ ไม่กี่บริษัทก็รวยได้




นักลงทุนจำนวนมากเมื่อเข้ามาในตลาดมักซื้อหุ้นของหลายบริษัทมาก ไม่ว่าจะเพราะเลือกไม่ถูกพอเห็นอะไรก็รู้สึกชอบไปหมด อาจจะเพราะแยกของไม่ดี หรือดี ออกจากดีมากไม่ได้ หรือเพราะซื้อตามเพื่อน (เขาซื้อเราซื้อด้วย) หรือซื้อตามที่นักวิเคราะห์บอกว่าดีก็ซื้อตามไป โดยคิดว่าการมีหุ้นหลายบริษัทมากย่อมเป็นการลดความเสี่ยง ซึ่งที่จริงก็เป็นการลดความเสี่ยงในแง่มุมว่าเราไม่เสียเงินทั้งหมดไปในปริมาณมากค่อนข้างแน่นอน แต่ก็จะลดความเป็นไปได้ที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีมากไปด้วยในตัว และในความเป็นจริงเราไม่จำเป็นต้องซื้อหุ้นมากมายหลายตัวขนาดนั้นด้วยหลายเหตุผล เช่น
  1. เมื่อเราเลือกแล้วว่าดี ความเสี่ยงย่อมต่ำลง ถ้าเราเลือกเฉพาะหุ้นดีๆ เข้าพอร์ตมา ความเสี่ยงรวมย่อมต่ำลงไปอีก
  2. ความเสี่ยงนั้นต่ำกว่าการทำธุรกิจส่วนตัวเสียอีก และสามารถเปลี่ยนใจเพื่อหยุดความเสียหายได้ตลอดเวลา (โดยการขายตัดขาดทุน)
  3. เรายอมรับการเสียหายได้เท่าไร สมมติว่า 20% เราก็ซื้อหุ้น 5 ตัวก็ได้ ซึ่งที่จริงก็ไม่ได้เสียหายขนาดนั้นเพราะเราสามารถขายตัดขาดทุนได้และถ้าเราเลือกหุ้นที่ดีเราก็จะไม่ขาดทุนอะไรขนาดนั้น)
  4. ยิ่งเราซื้อหุ้นน้อยตัวเท่าไร โอกาสจะได้ผลตอบแทนที่ดี (กว่าตลาดโดยรวมหรือดัชนีนั่นเอง) ย่อมสูงขึ้นไปด้วย ภายใต้สมมติฐานว่าเราคัดเลือกหุ้นที่ดี
ซึ่งที่จริงแล้วการซื้อหุ้นเพียงบริษัทเล็กๆ ขนาดสัก 5,000 - 10,000 ล้านบาท แต่ถือสัก 0.1% ก็เป็นเงิน 5 - 10 ล้านบาท ทำแบบนี้สัก 5 บริษัทก็คิดเป็น 25-50 ล้านบาท คงพอจะบอกว่าเป็นคนมีเงินได้ (หรือถ้าทำให้มีรายได้ไหลเข้ามามากเกินรายจ่ายได้ก็พอจะถือว่ารวยแล้วก็คงไม่ผิด) เพื่อนหลายท่านอาจจะบอกว่า ก็ยังไม่มีเงินขนาดนั้น ผมก็อยากบอกกลับว่ามันไม่ได้อยู่ที่มีเงินเท่าไรแล้วจะทำอย่างไร มันอยู่ที่กลยุทธ์และนิสัยที่เราสร้างให้กับตัวเราเองว่าเราจะทำแบบไหนไปเรื่อยๆ แล้วจะประสบความสำเร็จในการลงทุนได้ (เปรียบไปก็เหมือนกับการเล่นการพนัน ถ้าเราบอกว่าตอนนี้จนอยู่จะต้องเล่นการพนันเพื่อให้ได้เงิน แล้วพอมีเงินแล้วจะไปหยุดเล่น สุดท้ายคนคนนั้นมักจะหยุดไม่ได้และเสียเงินทั้งหมดไปในที่สุด เพราะนิสัยการกระทำให้ได้เงินมามันผิดนั่นเอง)

ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ถ้าเราสนใจแต่บริษัทขนาดใหญ่ๆ  จะมีจำนวนบริษัทให้เลือกน้อยลงและบริษัทใหญ่ (แล้ว) เหล่านั้นมักเติบโตต่อไปได้ยาก (มักจะเป็นเพราะครอบครองสวนแบ่งการตลาดไว้จนอิ่มตัวแล้ว ยกเว้นแต่ว่าตลาดจะขยายต่อไปเรื่อยๆ) และราคาหุ้นมักไม่ถูก (ยกเว้นช่วงตลาดตกใจ) เนื่องจากมีผู้คนสนใจจำนวนมาก มีการวิเคราะห์กันอย่างกว้างขวาง แต่ถ้าเราเปิดโอกาสสนใจบริษัทขนาดเล็กๆ ด้วยก็จะมีให้เลือกอีกเยอะมาก ราคามักถูกกว่าที่ควรและมีโอกาสโตได้มากกว่าบริษัทขนาดใหญ่ที่โตแล้ว ที่สำคัญกว่านั้นคือ เมื่อบริษัทยังมีขนาดเล็กหรือกลางอยู่ ปริมาณหุ้นไหลเวียนยังมีน้อย จะไม่ค่อยมีบริษัทนายหน้าที่ไหนสนใจหาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ เพราะไม่มีประโยชน์ทางธุรกิจ (วิเคราะห์ไปก็ไม่ได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายนั่นเอง) ทำให้หลายครั้งราคาหุ้นผิดไปจากความเป็นจริง (เพราะไม่มีใครไปช่วยดู) และมักผิดไปในทางที่ถูกเกินไปเสียด้วย ทำให้เป็นโอกาสในการลงทุนของเราได้  ต่อเมื่อบริษัทเหล่านั้นเติบโต ยอดขายสูงขึ้น กำไรสะสมมากขึ้น มีการขยายกิจการ ออกหุ้นเพิ่มทุนต่างๆ ก็จะเป็นที่รู้จักในวงการลงทุน เจ้ามือที่แท้จริงก็คือผลประกอบการและการเติบโตก็จะมาช่วยทำราคาให้เอง

เพื่อนๆ ลองพิจารณาดูนะครับว่าที่ผมเล่ามาด้านบนเป็นแนวทางที่เหมาะกับตัวเองหรือไม่ หรือจะดัดแปลงให้เหมาะสมมากขึ้นเพื่อประโยชน์ของเพื่อนๆ เองก็จะน่ายินดีเป็นอย่างยิ่งครับ

ที่มา http://muegao.blogspot.com/2016/03/blog-post_28.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แค่หกส่วนก็พอ

ที่กรุงไทเปมีผู้รับเหมาก่อสร้างคนหนึ่ง  เป็นคนหนุ่มที่ชาญฉลาดที่รู้กันทั้งวงการ  มีหัวการค้าเป็นเลิศ  ทำงานคล่องแคล่วว่องไว  พร้อมลุยงานหนัก...