บิล เกตส์ ก่อนที่บิลเกตส์ จะกบฏต่อชีวิตมหาวิทยาลัย เขามี " โอกาส – ความพยายาม – การฝึกฝน" ในเรื่องคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่อายุ 15-16 ปี เป็นระดับหนักหน่วง 8 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ ความรู้ความชำนาญในเรื่องคอมพิวเตอร์ของเขาสูงกว่านักศึกษาระดับปริญญาตรี หลายสิบหลายร้อยเท่า เขาจึงสามารถทิ้งใบรับปริญญาอย่างไม่ใยดีได้ ใครก็ตามที่คิดจะเอาอย่างเพียงแค่เดินออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อแสวงหาความ สำเร็จด้วยตนเอง ขณะที่ข้างในกลวง หรือไม่เจ๋งจริง ก็อย่าหวังว่าจะประสบความสำเร็จเหมือนบิลเกตส์ เดอะบีตเทิลส์ ก่อนที่พวกเขาจะโด่งดังก็ต้องผ่านกฎ 10,000 ชั่วโมงเช่นกัน ไม่เพียงแต่การเล่น หรือซ้อมในเมืองลิเวอร์พูลเท่านั้น แต่มีช่วงหนึ่งที่พวกเขาไปเล่นที่คลับระบำเปลื้องผ้าแห่งหนึ่งในฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมัน ชื่อ "อินทรา" ที่นั่นเขาเล่นดนตรีสัปดาห์ละ 7 วัน แต่ละคืนมากกว่า 5 ชั่วโมงขึ้นไป ชั่วโมงบินของบีทเทิลส์จึงสูงลิ่ว ว่ากันว่า ตอนที่พวกเขาประสบความสำเร็จใน พ.ศ. 2507 เดอะบีทเทิลส์แสดงสดไปแล้ว 1,000 ครั้ง ขณะที่วงดนตรีปัจจุบันส่วนใหญ่แสดงกันไม่ถึง 1,200 ครั้งตลอดชีวิตนักดนตรีของพวกเขา
สตีฟ จอบส์ เป็นบุตรบุญธรรมของสามีภรรยาชนชั้นแรงงานใยย่าน "ซิลิคอล วัลเลย์"แหล่งอุตสาหกรรมซอฟแวร์และบริษัทไอทีชั้นนำของประเทศอเมริกา จึงไม่ต้องแปลกใจว่าสาเหตุที่ สตีฟ จ๊อบส์ผู้โด่งดังในด้านไอทีเช่นทุกวันนี้ส่วนหนึ่งย่อมเกิดจากเบ้าหลอม จากสภาพแวดล้อมที่เขาเติบโตขึ้นมาในแหล่งนี้ ครอบครัวจ๊อบส์เลี้ยงลูกบุญธรรมของพวกเขาให้เรียนรู้การทำงานมาตั้งแต่เด็กๆ พอล จ๊อบส์ พ่อบุญธรรมยังสอนให้สตีฟตัวน้อยเรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างในโรงงาน เกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆถึงแม้ว่าตัวพ่อบุญธรรมเองจะมีความรู้ จำกัดเพราะเขาเป็นเพียงช่างเครื่องให้กับบริษัทผลิตเลเซอร์เท่านั้นก็ตาม กล่าวได้ว่าพ่อบุญธรรมเป็นผู้จุดประกายความสนใจเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ให้กับ สตีฟ จ๊อบส์ ส่วนแม่บุญธรรมจะสอนให้เขาหัดอ่านเขียนได้ตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียน ครอบครับจ๊อบส์มีเพื่อนบ้านเป็นวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์ทำงาน ที่ Hewlett Packard ชื่อว่า แลร์รี่ แลง( Larry Lang ) เขาสอนความรู้เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ให้สตีฟ จ๊อบส์ มากมายมหาศาล และด้วยความฉายแววความเก่งออกมาตั้งแต่เด็กๆตอนที่อยู่เกรดสี่ ทำให้ครูที่โรงเรียนเสนอให้เขาข้ามไปเรียนชั้นมัธยมได้เลย เขามักจะไปฟังบรรยายที่บริษัท Hewlett Packard หลังเลิกเรียนบ่อยๆ ต่อมาสตีฟวัย 15 ปีถูกจ้างให้ทำงานบริษัทนี้ในช่วงฤดูร้อน โดยทำงานร่วมกับ สตีฟ วอซเนียก ( Steve Wozniak ) เพื่อนรุ่นพี่ที่โรงเรียน Homestead High School เหมือนกัน หลังจากจบชั้นมัธยมเขาเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยรีด ซึ่งค่าเทอมที่นี่แพงมาก พ่อแม่บุญธรรมของเขาไม่มีเงินมากพอที่จะส่งเรียนให้จบได้ เขาจึงตัดสินใจดร็อปเรียนหลังจากเข้ามหาวิทยาลัยได้เพียง 6 เดือน แม้จะดร็อปเรียนแล้ว เขาก็ยังต้องเตร็ดเตร่อยู่แถวมหาลัยอีก 18 เดือนด้วยการสิงอยู่ตามห้องเพื่อนเพราะไม่มีหอพักให้อยู่แล้ว ชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างอัตคัดฝืดเคือง เขาต้องเก็บกระป๋องโค้กไปขายได้เงินกระป๋องละ 5 เซนต์และนำเงินที่ได้ไปซื้อข้าวประทังชีวิตกิน พอถึงทุกๆวันอาทิตย์เขาต้องเดินข้ามเมืองเป็นระยะทาง 7 ไมล์เพื่อที่จะได้กินอาหารดีๆที่โบสถ์ฟรีเพียง 1 มื้อ ในปี 1974 สตีฟ จ๊อบส์ เข้าสมาคมที่ชื่อว่า " Homebrew Computer Club " เป็นสมาคมอย่างไม่เป็นทางการของเหล่าผู้มีงานอดิเรกที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในซิลิคอนวัลเลย์ ซึ่งสมาชิกชมรมนี้ประกอบไปด้วยผู้ที่จะกลายเป็นแฮกเกอร์ฝีมือฉกาจและผู้ ประกอบการด้านไอที หลังจากนั้น สตีฟ จ๊อบส์ เริ่มต้นหางานทำโดยได้งานเป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคที่อาตาริ ผู้ผลิตวีดีโอเกมที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เขาได้รับมอบหมายงานให้สร้างแผ่นลายวงจรพิมพ์ ( Circuit board ) โดยบริษัทเสนอจะมอบเงินให้ 100 ดอลลาร์ต่อชิพแต่ละตัวที่ถูกลดลงไปในเครื่อง เขาจึงได้ร่วมกับสตีฟ วอซเนียกซึ่งตอนนั้นวอซเนียกทำงานประจำอยู่ที่ Hewlett Packard พวกเขาสามารถลดจำนวนการใช้ชิพลงได้ถึง 50 ตัว ซึ่งเป็นการออกแบบที่แน่นหนามากจนเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการถอดแบบเพื่อทำซ้ำใน แนวประกอบชิ้นส่วนของเครื่องในโรงงาน หลังจากนั้นในปี 1976 สตีฟ จ๊อบส์ มีอายุได้ 20 ปี ชีวิตเขาก็มาถึงกาลจุดเปลี่ยนเพราะสตีฟ จ๊อบส์ และเพื่อนคือสตีฟ วอซเนียก ทั้งสองร่วมมือกันผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลออกมาขาย เขาต้องขายสมบัติทุกอย่างที่มี อันประกอบด้วยรถแวนเก่าๆ 1 คัน เครื่องคิดเลข 2 เครื่อง เพื่อเป็นทุนในการทำธุรกิจ โดยรวบรวมทุนได้ 1,300 เหรียญ แต่ละวันเขานั่งวุ่นอยู่กับทรานซิสเตอร์ ขลุกอยู่กับสายไฟ ทำงานหามรุ่งหามค่ำกับวงจรไฟฟ้า จัดการนำชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่ไม่มียี่ห้อมาประกอบเข้ากันภายในกล่อง พลาสติกและสถานที่ผลิตของพวกเขาคือโรงรถของพ่อบุญธรรมของสตีฟ จ๊อบส์นั่นเอง เขาไม่ได้ลาออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อจะได้นอนตื่นสายและเอ้อระเหยลอยชายทั้ง วันแล้วนั่งรอให้สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้น เขาทั้งสองรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ดีมาก เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่พวกเขาได้นำเสนอออกสู่สายตาได้แก่เครื่อง Apple I ซึ่งตั้งราคาขายไว้ที่ 666.66 ดอลล่าร์สหรัฐ แน่นอน สตีฟ จ๊อบส์ ผ่านกระบวนการฝึกฝนกว่า 10,000 ชั่วโมงอย่างไม่ต้องสงสัย ผมเชื่อ ว่ามนุษย์คนหนึ่ง หากพื่้นฐานเป็นคนที่มีสุขภาพและมันสมองดี ประกอบกับได้รับการฝึกฝนจากการที่ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากเหมือนคนจนตรอก แล้ว จะทำให้คนผู้นั้นมีภูมิคุ้มกันและมีพลังแฝง รวมไปถึงความทะเยอทะยานที่จะก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างไม่ย่อท้อ ไม่ว่าจะประสบกับปัญหาร้ายแรงอย่างไรก็ตาม คนผู้นี้จะสามารถล้มและลุกขึ้นมาใหม่ได้เสมอ และเขาจะสามารถยืนหยัดและก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างลำพังได้อย่างมาดมั่นด้วย ตัวของเขาเอง
" You've got to find what you love " Jobs says.เรา ควรหาสิ่งที่เรารักให้เจอและจงทำมัน แต่หากเรายังหาสิ่งที่รักไม่เจอจงอย่าหยุดที่จะหามัน และเราจะรู้ได้เองเมื่อเราพบในสิ่งที่เรารักจริงๆ
ไทเกอร์ วูดด์ นักกอล์ฟระดับโลก มีคนเคยถามเขาว่า คุณใช้เวลาในการซ้อมกอล์ฟมากขนาดไหนต่อวัน? ไทเกอร์ วูดด์ ตอบว่า ตลอดเวลา
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นมหาเศรษฐีระดับ 2 ของโลก เขาเป็นตัวอย่างของนักลงทุน ที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าของหุ้นที่เขาลงทุน (Value Investor) ปรัชญาการลงทุนของนายบัฟเฟตต์ คือ "กฎข้อที่หนึ่ง: อย่ายอมเสียเงิน และกฎข้อที่สอง: อย่าลืมกฎข้อ 1″ เขายึดถือและใช้กฎนี้ในการลงทุนอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 50 ปี
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ส่วนตัวผมเชื่อว่า ดร.นิเวศน์ มีประสบการณ์การลงทุนมากกว่า 10,000 ชั่วโมงเป็นแน่แท้
"ความ สำเร็จ" ที่เราเห็นในชีวิตของคนระดับโลกอย่าง บิล เกตส์, สตีฟ จ็อบส์, วงเดอะบีทเทิลส์ หรือจะเป็นกรณีสายการบินเกาหลีที่ทำเครื่องบินตกซ้ำซากจนเป็นที่เข็ดขยาด แต่กลับปฏิรูปตัวเองจนกลายเป็นหนึ่งในสายการบินที่มีความปลอดภัยสูงที่สุดใน โลก เรื่องของเด็กจีนที่เรียนเลขเก่งมากกว่าเด็กตะวันตก เพราะมาจากครอบครัวทำนาปลูกข้าว รวมถึงเรื่องบรรดานักกฎหมายชั้นนำในนิวยอร์ก ที่ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวช่างตัดเย็บเสื้อผ้า แม้แต่เหตุการณ์เด็กอัจฉริยะที่มีไอคิวสูงกว่าไอน์สไตน์ แต่กลับโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีชีวิตล้มเหลว ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มีอะไรแอบแฝงมากกว่า "ความฉลาด" "ความเก่ง" "ความทุ่มเท" และ "พันธุกรรม" ตามความเชื่อของคนทั่วไป ปัจจัยที่ทำให้คนเราประสบความสำเร็จในระดับสูงสุด หรืออาจไม่ประสบความสำเร็จเลยแม้จะมีระดับสติปัญญาและความพยายามเท่าๆ กัน คือ "โอกาส" ในการเข้าถึง "การฝึกซ้อม" ในทักษะที่ตัวเองรักและถนัดไม่ต่ำกว่า 10,000 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย และต้องมีผู้ให้การสนับสนุนการฝึกซ้อมเป็นไปอย่างต่อเนื่องกรณีของบิลเกตส์ และวงเดอะบีเทิลส์ ถือว่าเขาได้โอกาสในการเข้าถึงสิ่งที่รักได้เร็ว และมีเวลาอยู่กับสิ่งๆ นั้นวันละไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง แม้ว่าบางเหตุการณ์จะเป็นการบังคับในตัวกลายๆ กับการต้องเล่นดนตรีหามรุ่งหามค่ำแบบไม่มีวันหยุดเลยในหนึ่งสัปดาห์ จนช่วงเวลาแห่งความสำเร็จมาถึงในปี 1964 ที่ประชาชนเริ่มรู้จักวงเต่าทอง ปรากฏว่าเดอะบีทเทิลส์ แสดงสดไปแล้วกว่า 1,200 ครั้ง หรือความฉลาดล้ำเกินหน้าเด็กคนอื่นๆ ในวัยเดียวกัน จนเกิดอาการเบื่อหน่ายที่ต้องเรียนหนังสือ และต้องย้ายไปเรียนในโรงเรียนเอกชนที่มีชมรมคอมพิวเตอร์ และนำพาให้บิล เกตส์ ได้มีโอกาสเขียนโปรแกรมด้วยระบบที่มีการตอบสนองแบบฉับพลัน ตั้งแต่ตอนที่เรียนอยู่ชั้นเกรดแปดในปี 1968 และเขาได้คลุกกับเรื่องจักรกลด้วยการเขียนโปรแกรมแบบไม่พักตลอด 7 ปี จนประสบความสำเร็จเป็นไมโครซอฟต์ในปัจจุบัน
ไม่ใช่แค่เรื่องโอกาสเพียง อย่างเดียว ความสำเร็จที่เกิดขึ้นได้ ส่วนหนึ่งมาจากการปลูกฝังของคนที่เป็นพ่อแม่ ที่พร้อมเปิดโอกาสให้ลูกๆ ได้ฝึกฝนในสิ่งที่รักถึง 10,000 ชั่วโมง ด้วยความรัก เห็นได้จากกรณีของคริส แลงแกน ที่มีความเป็นอัจฉริยะสูงได้ A ทุกวิชา แต่พื้นฐานครอบครัวไม่ดี ผู้เป็นมารดาไม่ได้สนใจมากพอต่อเรื่องการเรียนของลูก ทำให้แลงแกนต้องถูกตัดสิทธิ์จากทุกการศึกษา เพราะมารดาไม่ได้กรอกเอกสารทางการเงินของครอบครัว เพื่อขอรับทุน จนต้องลาออกจากมหาวิทยาลัย และมีชีวิตที่ตกต่ำเรื่อยมา ทั้งๆ ที่เขามีไอคิวสูงกว่าไอน์สไตน์ด้วยซ้ำ
มัลคอล์ม แกลดเวลล์ (Malcolm Gladwell) เป็นนักประพันธ์หนังสือแนวสารคดี (non-fiction) อย่าง The Tipping Point และ Blink โดยหนังสือแต่ละเล่มที่เขียนขึ้นจะอัดแน่นไปด้วยความรู้แปลกใหม่ และมักปิดท้ายด้วยข้อสรุปที่สวนทางกับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ในสังคม จนจุดประกายให้เกิดการอภิปรายโต้เถียงกันอย่างกว้างตามมา อีกทั้งยังมีเสน่ห์เล่าเรื่องได้สนุกสนาน กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของคนอ่านได้ตลอดเวลา
เปรียบเทียบให้เห็นภาพ
ถ้า คุณทำสิ่งที่คุณรักวันละ 1 ชั่วโมง ใน 1 ปี มี 365 วัน ก็แค่ 365 ชั่วโมง ต้องใช้เวลาถึง 10 ปี ถึงจะได้ 3,650 ชั่วโมง ต้องใช้เวลาถึง 30 ปีถึงจะมีชั่วโมงบินถึง 10,000 ชั่วโมง ดังนั้นคาถาย่อย่นหนทาง จึงควรกล่าวได้ว่า ทำมันและอยู่กับสิ่งที่คุณรักให้มากขึ้น
Luck is where opportunity meets preparation. โชค(โอกาส) เราอาจควบคุมไม่ได้ แต่การเตรียมพร้อม เราเป็นเจ้าของที่รับผิดชอบมัน หนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์
ที่มา http://kritchakorn.blogspot.com/2011/08/10000.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น