เมื่อเข้ามาเทรด ทุกคนทราบดีว่าจิตวิทยาในการลงทุนนะสำคัญ และก็พูดตามๆ กันไปว่าในการที่จะประสบความสำเร็จนั้นเราจะต้องมีจิตวิทยาการลงทุนที่ถูกต้องนะ. ต้องเข้าใจกลไกตลาดทุน (นั่นคือส่วนของความรู้และการวิเคราะห์) และต้องเข้าใจตัวเราเอง. รับมือการขาดทุนได้ใจไม่เสีย และทนกำไรให้สุดได้จริง ไม่หลงระเริงหรือขายหมูไประหว่างทาง. พูดเหมือนๆ กันเพราะฟังมาเหมือนๆ กัน. แล้วมันยังไงต่อ คิดดีๆ ถ้า Concept ฟังดูดีแต่จับต้องไม่ได้ แปลว่ามันใช้ไม่ได้.
ในคลาส TFEX เมือสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา. ผมยื่นคำถามไปว่า TFEX SET50 รอบนี้ใครขายหมูไปบ้าง กว่าครึ่งห้องยกมือ อีกจำนวนไม่น้อยตกรถ แต่เหลือเพียงไม่กี่คนที่ยัง Run trend ขึ้นได้มาจากระดับต่ำพัน. ผมไม่ได้ต้องการวิจารณ์อะไรแม้เราจะรู้ๆ กันอยู่แล้วว่าที่กำไรหรือสำเร็จคือสัดส่วนน้อย. แต่สถิตินี้มันแปลกนะ เพราะผมเชื่อว่าทั้งหมดมีความรู้เรื่อง Technical analysis อย่างน้อยรู้ว่าจุดไหนคือ Stop และมองออกว่าราคาอยู่ในขาขึ้นหรือขาลง และนั่นคือคุณสมบัติขั้นต้นในการ Run trend คำถามคือ ทำไมยังขายหมูกันอยู่
เรื่องนี้น่าสนใจ และเป็นปัญหาเชิงลึกเชิงความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเงิน, วิธีที่เรามองตัวเองและวิธีที่เรามองสภาพแวดล้อมรอบตัว ข้อสังเกตุทั้งที่เกิดขึ้นกับตัวผมเองและกับคนรอบตัว ผมสรุปได้ 3 ข้อดังนี้:-
1. เพราะเรากลัวคืนกำไร ฟังดูผิวเผินนะครับ. แต่การคืนกำไรกระทบใจลึกกว่าที่ใครๆ คิด. สมมุติว่าเราซื้อหุ้น A ที่ 100บ./หุ้น
- พอราคาขึ้นไป 110บ. เราคิดว่าเรากำไร 10บ แล้ว.
- พอราคาขึ้นไป 120บ. เราคิดว่าเรากำไร 20บ. แล้ว.
- พอราคาขึ้นไป 130บ. เราคิดว่าเรากำไร 30บ. แล้ว.
มันเหมือนจะ Ok แต่ชีวิตราคามันไม่ได้ขึ้นอย่างเดียว มันมีพักด้วย. แต่ถ้ายิ่งติดตามอย่างใกล้ชิด เราจะไม่ได้ผูกกับต้นทุนที่ 100บ. อีกต่อไป แต่เราจะผูกใจกับราคาที่สูงสุดล่าสุด หลักฐานคือเมื่อราคาพักฐานหรือย่อลงมาหน่อย ทัังๆ ที่มันยังไม่โดน Stop เราหงุดหงิด
- พอราคาพักฐานมาเหลือ 122บ. โดยหลักการยังกำไรอยู่ 22บ.
แต่ต้นทุนจริงไม่สำคัญอีกต่อไป. เพราะเราผูกใจกับราคา 130บ. ไปแล้ว. สิ่งที่เกิดขึ้นคือเรารู้สึกเจ็บใจ รู้สึกเสียดาย ที่เราคืนกำไร 8บ. "เท่ากันกับการขาดทุน 8บ." และเราก็มักปลอบใจตัวเองว่า "ไม่เป็นไร เก็บกำไรส่วนนึงขึ้นมาก่อน" ลองสังเกตุตัวเองดีๆ เรื่องนี้ถ้าแยกแยะระหว่างการขาดทุนเข้าเนื้อกับการคืนกำไรไม่ได้. โอกาสที่จะ Run สุด Trend แทบเป็นไปไม่ได้เลย.
2. เพราะกลัวคืนกำไร เลยขายหมู และตลาดหุ้นมันเหมือนกลไกอะไรสักอย่างทดสอบขีดจำกัดของเราทั้งในมิติของราคาและเวลา. หลายๆ เราอุตสาห์ถือหุ้นมาตั้งนาน ค่อยๆ ละเลียดขึ้นมา พอเราขายหมูเท่านั้นแหละ. ราคาพุ่งเลย. โคตรแรงและเร็วราวกับตั้งใจแกล้งกัน. อีกข้อสังเกตุหนึ่งที่แปลกคือ ความรู้สึกสุดโต่งไม่ว่าจะดีใจสุดๆ หรือแย่สุดๆ ใจเราแยกแยะไม่ได้. ใจเราสัมผัสแค่ว่ามันสุดโต่งเท่านั้นและเราเสพติดอาการสุดโต่งไปโดยไม่รู้ตัว เหมือนหลายๆ คนเสพติด Drama มีปัญหาไม่จบสิ้น. นี่คือเรื่องเดียวกัน. ทำให้เมื่อเราขายหมูอย่างเจ็บใจไปในรอบนี้. เราจะขายหมูไปทุกรอบ. แย่สุดโต่งแต่มันกลายเป็น Psychological pattern โดยไม่รู้ตัว เกือบทุกรายกรณีเดียวกันหมด. ถ้าได้ Run trend สุดๆ สักครั้งหายเลย แต่เพราะกลัวกำไรมันเลย Run ไม่ได้สักที
3. เพราะกลัวคืนกำไร เลยขายหมู แต่ความต้องการพื้นฐานเพื่อสนอง Self-ego ของเราทุกคนคือ:-
- เราอยากได้ ไม่อยากเสีย
- ตอนได้ อยากได้เยอะๆ ไม่อยากได้น้อยๆ
- เราอยากเป็นฝ่ายถูก ไมใช่ฝ่ายผิด
และไอ้เพราะเราอยากเป็นฝ่ายถูก ไม่ใช่ฝ่ายผิดนี่แหละ เราไปสร้างทัศนคติว่าราคาที่เราขายคือราคาที่ดีแล้ว ไปหาความรู้มารองรับว่าราคาขึ้นมาชนแนว Fibo แล้ว เกิด Bearish div แล้ว "เดี๋ยวมันต้องพักฐาน!!!" หลักฐานคือ รอบที่ TFEX SET50 ขึ้นมารอบนี้ พอเกิด 1,000 จุด หลายๆ คนวิเคราะห์ Chart ว่ามันต้องลงเท่านั้นเท่านี้. ผมสันนิษฐานว่าเขาปิดหน้า Long ไปแล้ว. เพราะมันขัดกับความรู้สึกหากเราซื้อแล้วปิดหน้าซือ และรอซื้อต่อ. ถ้าแบบนั้นเราก็ไม่ต้องขายตั้งแต่ทีแรกสิ. ผลคือเราไปหา "ท่ายาก" มากมายเพื่อเข้าเป็นเหตุผลในการเทรดผิดทาง
เลยมีคนเก่งมากมายที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเทรดเสียที ความเข้าใจผิดนี้คือ "วงจรอุบาท" ที่ๆ ส่วนใหญ่หาทางออกไม่เจอ. จะแก้ต้องแก้ที่วิธีคิด และต้องแก้ทั้งหมดพร้อมกัน. จะแก้เรื่องใดเรื่องนึงไม่ได้. ดังนั้นการจด Trading journal จึงควรที่จะเขียนความรู้สึก/หลักคิดของเราในตอนนั้นเข้าไปด้วย ไม่ใช่แค่กลยุทธ์
ที่มา http://www.stock2morrow.com/news/?id=86
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น