การคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบพื้นฐาน ทำได้โดยนำราคาของวันปัจจุบันและวันก่อนหน้านี้มารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนวันที่ต้องการเฉลี่ยทั้งหมด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเส้นค่าเฉลี่ยนั้นว่า จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มในระยะสั้น กลาง หรือระยะยาว และสำหรับวันถัดไปสามารถหาค่าเฉลี่ยได้ โดยตัดข้อมูลวันแรกสุดออกไป และเอาราคาของวันล่าสุดเข้ามาแทนที่ จากนั้นก็นำมาคำนวณโดยวิธีเดียวกัน เช่น ถ้าต้องการหาค่าเฉลี่ยระยะสั้น 10 วัน ราคาสำหรับ 10 วันสุดท้ายจะถูกนำมารวมกันแล้วหารผลทั้งหมดด้วย 10 เนื่องจากข้อมูลทั้งหมด (ในที่นี้คือ 10 วัน แล้วหารผลทั้งหมดด้วย 10 เนื่องจากข้อมูลทั้งหมด (ในที่นี้คือ 10 วันสุดท้าย) จะถูกเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVE) ไปข้างหน้า จึงเรียกว่า ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
ตัวอย่างสูตรคำนวณ
ช่วงเวลาที่ใช้
ปัจจุบันช่วงเวลาที่นิยมใช้ในการแบ่งกลุ่มของผู้ลงทุน คือ
10 วัน (2 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
25 วัน (5 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะค่อนข้างปานกลาง
75 วัน (15 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะกลาง
200 วัน (40 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะยาว
โดยช่วงเวลาทั้ง 4 ได้ผ่านการทดสอบแล้วและเหมาะสมสำหรับตลาดหุ้นไทย อย่างไรก็ดี ช่วงระยะเวลานี้อาจจะแตกต่างออกไปตามความนิยมใช้ของผู้ลงทุนแต่ละกลุ่ม เช่น ระยะสั้นอาจเป็น 12 วัน ระยะยาวอาจมีช่วงสั้นลงเป็น 150 วัน หรือ 30 สัปดาห์ แต่สำหรับระยะปานกลางมักจะใช้ 75 วันหรือ 15 สัปดาห์เป็นหลัก และเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่ใช้จำนวนวันน้อย ๆ เช่น เส้นค่าเฉลี่ยฯ 5 วันหรือ 10 วันจะเปลี่ยนแปลงไปตามราคามากกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว เช่น 40 วัน
สำหรับในสภาพตลาดที่มีลักษณะที่เด่นชัด (BULL OR BEAR MARKET) การใช้เส้นค่าเฉลี่ยฯ ระยะสั้นจะได้ผลมากกว่า แต่ในภาวะที่ตลาดมีลักษณะไม่ชัดเจน (SIDEWAYS) เราควรใช้เส้นค่าเฉลี่ย ระยะยาว ในการหาสัญญาณซื้อหรือขาย
การหาสัญญาณซื้อ-ขายโดยใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
จากการที่เส้นราคาหุ้นย่อมนำหน้าเส้นราคาเฉลี่ย ดังนั้นความสัมพันธ์ของเส้น 2 เส้น จึงมีความสำคัญในการบอกถึงการเปลี่ยนทิศทางของราคาหุ้น และจะนำมาช่วยในการบอกถึงสัญญาณซื้อและขายได้ ซึ่งสามารถบอกความสัมพันธ์ได้ดังนี้
1. เมื่อราคาเคลื่อนขึ้น และทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เคลื่อนขึ้นตาม จะถือเป็นสัญญาณซื้อ ( จุด B ตามรูปด้านบน )
2. เมื่อเส้นราคาหุ้นทะลุขึ้น ผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เปลี่ยนจากเคลื่อนที่ลงเป็นขึ้น และสามารถยืนอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยฯ ได้นานพอสมควร ให้ถือเป็นสัญญาณซื้อ
3. เมื่อราคาเคลื่อนลงและทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เคลื่อนลงตาม จะถือเป็นสัญญาณขาย ( จุด A และ C ตามรูปด้านบน )
4. เมื่อเส้นราคาหุ้นทะลุลง ผ่านเส้นค่าเฉลี่ยฯ ที่เปลี่ยนจากเคลื่อนที่ขึ้นเป็นลง และอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยฯ นานพอสมควร ให้ถือเป็นสัญญาณขาย
ที่มา http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=32160
วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555
เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ Moving Average
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แค่หกส่วนก็พอ
ที่กรุงไทเปมีผู้รับเหมาก่อสร้างคนหนึ่ง เป็นคนหนุ่มที่ชาญฉลาดที่รู้กันทั้งวงการ มีหัวการค้าเป็นเลิศ ทำงานคล่องแคล่วว่องไว พร้อมลุยงานหนัก...
-
ผมไม่เคยรู้จักหลวงปู่สุภา พระเกจิชื่อดัง กระทั่งทราบข่าวท่านละสังขารทางหนังสือพิมพ์ พอได้อ่านคอลัมสกู๊ปหน้า 1 ไทยรัฐ วันที่ 5 กันยายน 2...
-
ฝั่งทะเลอันดามัน 1.หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะที่โดดเด่นด้วยน้ำทะเลสีฟ้าใสและหาดทรายขาวนวลละเอียดราวกับผงแป้ง หัวใจของสิมิลันคือ หินเรือใบที่โ...
-
" ....... Goal without Action , Just Dreaming ........ " "....... เป้าหมายที่ไม่ลงมือทำ มันก็แค่ความฝันตื่นหนึ่ง .....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น