ช่วงที่ผ่านมาผมได้อ่านหนังสือเรื่อง The Power of Habit ของ Charles Duhigg ทำให้เห็นมุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนเพราะสร้างนิสัยที่ถูกต้อง จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้ทุกเรื่อง รวมถึงการลงทุน และไม่น่าเชื่อว่านิสัยแค่ 1% อาจจะสร้างผลต่างในการลงทุนมากเป็นเท่าๆ ตัว
Charles ยกตัวอย่างการทดลองของนักวิจัยสถาบัน MIT ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการศึกษาความเชื่อมโยงระหว่าง "สมอง" "นิสัย" และ "ผลสำเร็จในการแก้ปัญหา" ด้วยการนำเอาหนูเข้ามาวิ่งในเขาวงกตแบบง่ายๆ โดยมีจุดหมายปลายทางเป็น "ชีสหอมๆ" เป็นรางวัล ทุกครั้งที่ปล่อยหนูออกวิ่งจะมีสัญญาณเสียงกริ๊ก และที่กั้นจะถูกยกออก หนูก็จะพยายามขวนขวาย ดมกลิ่น และลองผิดลองถูก จนถึงจุดมุ่งหมาย นักวิจัยทำการทดลองซ้ำแต่ละครั้งหนูก็เรียนรู้วิธีเดินผ่านเขาวงกตได้รวดเร็วขึ้นทุกๆ ครั้ง
ที่น่าสนใจคือ นักวิจัย MIT ได้นำเครื่องวัดการทำงานสมองมาวัด "คลื่นสมอง" ของหนูตลอดเวลา และพบว่าสมองหนูกลับทำงานน้อยลง ทั้งๆ ที่หนูใช้เวลาน้อยกว่าเดิมในการทดลองครั้งหลังๆ กระบวนการที่สมองกำหนดให้เกิดพฤติกรรมแบบอัตโนมัตินี้เอง เป็นที่มาของแนวคิดเรื่อง "นิสัย" ซึ่งถ้าสร้างตัวแปรก็จะพบว่ามี 3 สิ่ง คือ ตัวกระตุ้น (ในที่นี้คือเสียงกริ๊ก) มีรางวัล (ในที่นี้คือชีส) และมีกิจวัตร (คือการเดินในเขาวงกต) และผู้เขียนก็เรียกสิ่งนี้ว่า "วงจรแห่งนิสัย"
วงจรแห่งนิสัย มีอิทธิพลต่อชีวิตของเรา และบ่งบอกถึง "เส้นทาง" ในชีวิตของคนทุกคน วงจรแห่งนิสัยในภาพใหญ่จะประกอบด้วย "นิสัยเล็กๆ" จำนวนมาก ตั้งแต่การตื่นนอน แปรงฟัน กินข้าว ทำงาน จนเราหลับนอน นิสัยกำหนดให้เราเลือกที่จะตัดสินใจบนเส้นทางที่แตกต่างกันโดยไม่รู้ตัว เพราะนี่คือ "พฤติกรรมแบบอัตโนมัติในชีวิต" อันที่จริงนักการตลาดก็ใช้นิสัยของมนุษย์มาสร้างธุรกิจจำนวนมาก ไลฟ์สไตล์หลายอย่างที่เราเห็นก็ถูกสร้างจากวงจรแห่งนิสัยนับไม่ถ้วน
ผมนำแนวคิดวงจรแห่งนิสัยนี้มาเปรียบเทียบกับการลงทุนในทุกๆ เช้าวันธรรมดาเวลาสิบโมงตรง ก็จะเริ่มมีตัวกะพริบเป็น "ชื่อหุ้น" พร้อมๆ กับ "สี" แดงบ้าง เหลืองบ้าง เขียวบ้าง ซึ่งมันคือ "ตัวกระตุ้น" นั่นเอง และรางวัลของนักลงทุน คือ
"ส่วนต่างกำไร" หรือ "เงินปันผล" ส่วนกิจวัตรของนักลงทุนก็คือ การซื้อ ขาย และการวิเคราะห์หาข้อมูล
นักลงทุนส่วนมากเริ่มต้นการลงทุนจากการมอง "รางวัล" เป็นที่ตั้งก่อน เช่น การอยากมีอิสรภาพทางการเงิน อยากรวย แต่สิ่งที่ควรระวังคือ "รางวัล" มักจะนำมาซึ่งอารมณ์ "ความโลภ" ที่อยากจะได้ผลตอบแทนมากๆ และนำมาซึ่ง "ความกลัว" ที่จะสูญเสียรางวัลนั้นไปตลอดกาล เพราะเหตุนี้รางวัลจึงไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนักที่จะสร้างความสำเร็จในการลงทุน
และกับดักนักลงทุนที่สองคือ "ตัวกระตุ้น" ซึ่งเหมือนมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะเทคโนโลยีทำให้เราสามารถเข้าถึงหุ้นได้จำนวนมาก พร้อมๆ กับข่าวสารที่ถาโถมเข้ามา ตัวกระตุ้นชั้นดีในทุกยุคทุกสมัย คือ "ข่าวลือ" หรือหุ้นจำพวก "Top Gainer" หรือ "Most Active" เพราะนี่คือเสียง "กริ๊ก" ให้เราซื้อๆ ขายๆ หุ้น ซึ่งมันก็ถูกขยายให้มากขึ้นไปอีกด้วยเครื่องมือจำพวกโซเชียลมีเดีย เช่น Line, Facebook เพราะเรามักจะเห็นสนามหญ้าคนอื่นเขียวกว่าตัวเอง และเรามักจะรู้สึกบ่อย ๆ ว่าหุ้นในพอร์ตคนอื่น "เขียว" กว่าพอร์ตหุ้นตัวเองเช่นเดียวกัน
ที่จริงแล้วความสำเร็จในการลงทุนต้องสร้างจาก "นิสัย" และตัดตัวกระตุ้นทั้งหลายออกไป หากให้ผมเลือก "สามนิสัย" ที่สำคัญที่สุด ดีที่สุดในการลงทุน คือ "การอ่าน" เพราะนี่คือการหาวัตถุดิบ ซึ่งก็คือ ความรู้ และข้อมูล เพื่อนำหุ้นมาวิเคราะห์อย่างเป็นกลาง จนสร้างผลสำเร็จคือการ "มองเห็น" อนาคตได้ไกลกว่านักลงทุนคนอื่นๆ ยิ่งเราสามารถมองได้ไกล (วิสัยทัศน์) มองได้ทั่ว (รู้จักหุ้นจำนวนมาก) เราก็ยิ่งประสบความสำเร็จได้มากเท่านั้น
นิสัยที่สอง คือ "การคิด" โดยเฉพาะการคิดหลายๆ ชั้น คิดในหลายๆ มุม การอ่านจำนวนมากจะไม่มีประโยชน์เท่าไหร่นัก ถ้าไม่สามารถนำความคิดมาต่อยอด สังเคราะห์ และตกผลึกออกมาเป็นผลลัพธ์ชั้นยอด การคิดสองชั้นอย่างง่ายๆ คือ ถ้าเราคิดอะไรได้ เราต้องคิดต่อไปอีกอย่างน้อยหนึ่งชั้นว่า ทำไมคนอื่นถึงคิดไม่ได้เหมือนเรา หรือมีอะไรผิดปกติตรงไหนที่เราลืมคิดไป
นิสัยที่สาม คือ "การรอ" ที่ดูขัดแย้งกับความสำเร็จในมุมมองของงานทั่วไปว่า "ทำมากได้มาก" แต่สำหรับการลงทุน "ทำน้อยอาจจะได้มากกว่า" บัฟเฟตต์บอกว่า การลงทุนดีๆ แค่ 20 ครั้งก็เพียงพอสำหรับเปลี่ยนชีวิตคุณได้แล้ว "การรอ" คือนิสัยที่ทำได้ยากมาก ไม่ว่าจะเป็นการรอจังหวะซื้อหุ้นที่ราคาดีๆ และรอ "เวลา" ที่หุ้นจะเติบโตไปถึงจุดที่ดีที่สุด ทั้งสามนิสัยนักลงทุนต้องฝึกให้เป็น "พฤติกรรมอัตโนมัติ" และคุณจะโชคดีมากถ้านิสัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณชอบอยู่แล้ว เพราะนั่นคือชีวิตที่มีความสุขโดยไม่ต้องฝึกฝนเลย
"วอร์เรน บัฟเฟตต์" เคยพูดถึงนิสัยไว้ว่า "นิสัยที่ดีต่อเนื่อง มักจะเบาเกินกว่าที่เราจะรู้สึกถึงมัน จนกระทั่งนิสัยนั้นถูกสร้างให้หนักแน่นจนเกินกว่าที่จะแตกหักได้"
ดังนั้น จงสร้างนิสัยที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง เพราะนี่คือสิ่งที่ทำลายคุณไม่ได้ แม้ว่าพอร์ตหุ้นจะลดลง 50% แต่นิสัยที่หนักแน่นจะพาคุณกลับมา และไปได้ไกลยิ่งกว่าเดิม นี่คือสิ่งที่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จพิสูจน์มานักต่อนักแล้ว
Charles ยกตัวอย่างการทดลองของนักวิจัยสถาบัน MIT ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการศึกษาความเชื่อมโยงระหว่าง "สมอง" "นิสัย" และ "ผลสำเร็จในการแก้ปัญหา" ด้วยการนำเอาหนูเข้ามาวิ่งในเขาวงกตแบบง่ายๆ โดยมีจุดหมายปลายทางเป็น "ชีสหอมๆ" เป็นรางวัล ทุกครั้งที่ปล่อยหนูออกวิ่งจะมีสัญญาณเสียงกริ๊ก และที่กั้นจะถูกยกออก หนูก็จะพยายามขวนขวาย ดมกลิ่น และลองผิดลองถูก จนถึงจุดมุ่งหมาย นักวิจัยทำการทดลองซ้ำแต่ละครั้งหนูก็เรียนรู้วิธีเดินผ่านเขาวงกตได้รวดเร็วขึ้นทุกๆ ครั้ง
ที่น่าสนใจคือ นักวิจัย MIT ได้นำเครื่องวัดการทำงานสมองมาวัด "คลื่นสมอง" ของหนูตลอดเวลา และพบว่าสมองหนูกลับทำงานน้อยลง ทั้งๆ ที่หนูใช้เวลาน้อยกว่าเดิมในการทดลองครั้งหลังๆ กระบวนการที่สมองกำหนดให้เกิดพฤติกรรมแบบอัตโนมัตินี้เอง เป็นที่มาของแนวคิดเรื่อง "นิสัย" ซึ่งถ้าสร้างตัวแปรก็จะพบว่ามี 3 สิ่ง คือ ตัวกระตุ้น (ในที่นี้คือเสียงกริ๊ก) มีรางวัล (ในที่นี้คือชีส) และมีกิจวัตร (คือการเดินในเขาวงกต) และผู้เขียนก็เรียกสิ่งนี้ว่า "วงจรแห่งนิสัย"
วงจรแห่งนิสัย มีอิทธิพลต่อชีวิตของเรา และบ่งบอกถึง "เส้นทาง" ในชีวิตของคนทุกคน วงจรแห่งนิสัยในภาพใหญ่จะประกอบด้วย "นิสัยเล็กๆ" จำนวนมาก ตั้งแต่การตื่นนอน แปรงฟัน กินข้าว ทำงาน จนเราหลับนอน นิสัยกำหนดให้เราเลือกที่จะตัดสินใจบนเส้นทางที่แตกต่างกันโดยไม่รู้ตัว เพราะนี่คือ "พฤติกรรมแบบอัตโนมัติในชีวิต" อันที่จริงนักการตลาดก็ใช้นิสัยของมนุษย์มาสร้างธุรกิจจำนวนมาก ไลฟ์สไตล์หลายอย่างที่เราเห็นก็ถูกสร้างจากวงจรแห่งนิสัยนับไม่ถ้วน
ผมนำแนวคิดวงจรแห่งนิสัยนี้มาเปรียบเทียบกับการลงทุนในทุกๆ เช้าวันธรรมดาเวลาสิบโมงตรง ก็จะเริ่มมีตัวกะพริบเป็น "ชื่อหุ้น" พร้อมๆ กับ "สี" แดงบ้าง เหลืองบ้าง เขียวบ้าง ซึ่งมันคือ "ตัวกระตุ้น" นั่นเอง และรางวัลของนักลงทุน คือ
"ส่วนต่างกำไร" หรือ "เงินปันผล" ส่วนกิจวัตรของนักลงทุนก็คือ การซื้อ ขาย และการวิเคราะห์หาข้อมูล
นักลงทุนส่วนมากเริ่มต้นการลงทุนจากการมอง "รางวัล" เป็นที่ตั้งก่อน เช่น การอยากมีอิสรภาพทางการเงิน อยากรวย แต่สิ่งที่ควรระวังคือ "รางวัล" มักจะนำมาซึ่งอารมณ์ "ความโลภ" ที่อยากจะได้ผลตอบแทนมากๆ และนำมาซึ่ง "ความกลัว" ที่จะสูญเสียรางวัลนั้นไปตลอดกาล เพราะเหตุนี้รางวัลจึงไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนักที่จะสร้างความสำเร็จในการลงทุน
และกับดักนักลงทุนที่สองคือ "ตัวกระตุ้น" ซึ่งเหมือนมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะเทคโนโลยีทำให้เราสามารถเข้าถึงหุ้นได้จำนวนมาก พร้อมๆ กับข่าวสารที่ถาโถมเข้ามา ตัวกระตุ้นชั้นดีในทุกยุคทุกสมัย คือ "ข่าวลือ" หรือหุ้นจำพวก "Top Gainer" หรือ "Most Active" เพราะนี่คือเสียง "กริ๊ก" ให้เราซื้อๆ ขายๆ หุ้น ซึ่งมันก็ถูกขยายให้มากขึ้นไปอีกด้วยเครื่องมือจำพวกโซเชียลมีเดีย เช่น Line, Facebook เพราะเรามักจะเห็นสนามหญ้าคนอื่นเขียวกว่าตัวเอง และเรามักจะรู้สึกบ่อย ๆ ว่าหุ้นในพอร์ตคนอื่น "เขียว" กว่าพอร์ตหุ้นตัวเองเช่นเดียวกัน
ที่จริงแล้วความสำเร็จในการลงทุนต้องสร้างจาก "นิสัย" และตัดตัวกระตุ้นทั้งหลายออกไป หากให้ผมเลือก "สามนิสัย" ที่สำคัญที่สุด ดีที่สุดในการลงทุน คือ "การอ่าน" เพราะนี่คือการหาวัตถุดิบ ซึ่งก็คือ ความรู้ และข้อมูล เพื่อนำหุ้นมาวิเคราะห์อย่างเป็นกลาง จนสร้างผลสำเร็จคือการ "มองเห็น" อนาคตได้ไกลกว่านักลงทุนคนอื่นๆ ยิ่งเราสามารถมองได้ไกล (วิสัยทัศน์) มองได้ทั่ว (รู้จักหุ้นจำนวนมาก) เราก็ยิ่งประสบความสำเร็จได้มากเท่านั้น
นิสัยที่สอง คือ "การคิด" โดยเฉพาะการคิดหลายๆ ชั้น คิดในหลายๆ มุม การอ่านจำนวนมากจะไม่มีประโยชน์เท่าไหร่นัก ถ้าไม่สามารถนำความคิดมาต่อยอด สังเคราะห์ และตกผลึกออกมาเป็นผลลัพธ์ชั้นยอด การคิดสองชั้นอย่างง่ายๆ คือ ถ้าเราคิดอะไรได้ เราต้องคิดต่อไปอีกอย่างน้อยหนึ่งชั้นว่า ทำไมคนอื่นถึงคิดไม่ได้เหมือนเรา หรือมีอะไรผิดปกติตรงไหนที่เราลืมคิดไป
นิสัยที่สาม คือ "การรอ" ที่ดูขัดแย้งกับความสำเร็จในมุมมองของงานทั่วไปว่า "ทำมากได้มาก" แต่สำหรับการลงทุน "ทำน้อยอาจจะได้มากกว่า" บัฟเฟตต์บอกว่า การลงทุนดีๆ แค่ 20 ครั้งก็เพียงพอสำหรับเปลี่ยนชีวิตคุณได้แล้ว "การรอ" คือนิสัยที่ทำได้ยากมาก ไม่ว่าจะเป็นการรอจังหวะซื้อหุ้นที่ราคาดีๆ และรอ "เวลา" ที่หุ้นจะเติบโตไปถึงจุดที่ดีที่สุด ทั้งสามนิสัยนักลงทุนต้องฝึกให้เป็น "พฤติกรรมอัตโนมัติ" และคุณจะโชคดีมากถ้านิสัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณชอบอยู่แล้ว เพราะนั่นคือชีวิตที่มีความสุขโดยไม่ต้องฝึกฝนเลย
"วอร์เรน บัฟเฟตต์" เคยพูดถึงนิสัยไว้ว่า "นิสัยที่ดีต่อเนื่อง มักจะเบาเกินกว่าที่เราจะรู้สึกถึงมัน จนกระทั่งนิสัยนั้นถูกสร้างให้หนักแน่นจนเกินกว่าที่จะแตกหักได้"
ดังนั้น จงสร้างนิสัยที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง เพราะนี่คือสิ่งที่ทำลายคุณไม่ได้ แม้ว่าพอร์ตหุ้นจะลดลง 50% แต่นิสัยที่หนักแน่นจะพาคุณกลับมา และไปได้ไกลยิ่งกว่าเดิม นี่คือสิ่งที่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จพิสูจน์มานักต่อนักแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น