สังขละ...เมืองแสนสงบไม่ว่าจะฤดูไหน ๆ ความงดงามของ สังขละบุรี อำเภอเล็ก ๆ สุดเขตชายแดนไทยฝั่งตะวันตกของจังหวัดกาญจนบุรี ก็มีเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนแวะเวียนเดินทางมาสัมผัสกับความสวยที่แตกต่างและแปลกตาออกไป รวมถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวบ้าน ที่ยังคงดำเนินไปเฉกเช่นเมื่อครั้งวันวาน ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวกระโดดไปไกลแค่ไหน แต่เวลา ณ สังขละบุรี ก็ยังคงเนิบนาบไปอย่างช้า ๆ ไปตามจังหวะชีวิตของมัน"สังขละบุรี" เป็นอำเภอที่ติดต่อกับชายแดนพม่า ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีประมาณ 215 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 เส้นทางนี้ตัดผ่านภูเขาเลียบทะเลสาบเขื่อนวชิราลงกรณ์ เราสามารถมองเห็นทัศนียภาพทะเลสาบที่งดงามได้ ตัวอำเภอสังขละบุรี ตั้งอยู่บริเวณที่ลำน้ำสามสายมาบรรจบกัน อันได้แก่ แม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตี รวมเรียกว่า "สามประสบ" ไหลรวมกันเป็นแม่น้ำแควน้อยทั้งนี้ อำเภอสังขละบุรี ถือเป็นอำเภอที่มีชาวมอญมาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงสามารถพบเห็นวิถีชีวิตประเพณีเก่าแก่แบบดั้งเดิมของชาวมอญ ณ ที่แห่งนี้ นอกจากนี้ ภาพชินตาอีกหนึ่งอย่างที่พบเห็นได้เสมอ คือ การแต่งกายตามแบบวัฒนธรรมของชาวไทยรามัญ หรือการนำสิ่งของทูนบนศีรษะเดินไปไหนมาไหนสิ่งหนึ่งที่พลาดไม่ได้เมื่อมาเยือนที่แห่งนี้ นั่นก็คือ การได้ไปยืนเป็นส่วนหนึ่งของ "สะพานไม้สังขละบุรี" หรือ "สะพานอุตตมานุสรณ์" ซึ่งเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย พร้อม ๆ กับเชื่อมโยงสายใยเล็ก ๆ ของสองเชื้อชาติ (ชาวไทยและชาวมอญ) ไว้ด้วยกันอย่างมั่นคง แข็งแรง และนับเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของสังขละบุรี ทำให้ในแต่ละวันมีผู้คนมากมายมาเยี่ยมชมสะพานแห่งนี้ ที่ซึ่งทอดข้ามลำน้ำซองกาเลียท่ามกลางทิวทัศน์ที่งดงาม
หรือนั่งเรือชิล ๆ เพื่อซึมซับทิวทัศน์สองข้างทาง เพื่อชม "เมืองบาดาล" ซึ่งในอดีตเป็น วัดวังก์วิเวการาม โดย หลวงพ่ออุตตมะ, ชาวบ้านอพยพ ชาวกะเหรี่ยง และชาวมอญ ได้ร่วมกันสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2496 ในบริเวณที่เรียกว่า "สามประสบ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 มีการก่อสร้าง "เขื่อนเขาแหลม" หรือ "เขื่อนวชิราลงกรณ์" ทำให้น้ำเข้าท่วมตัวอำเภอสังขละบุรีเก่ารวมทั้งวัดนี้ด้วย จึงได้ย้ายวัดมาอยู่บนเนินเขา ส่วนวัดเดิมได้จมอยู่ใต้น้ำมานานนับสิบปีทั้งนี้ ในช่วงฤดูแล้งราวเดือนมีนาคม-เมษายน น้ำลดจนสามารถสังเกตเห็นตัวโบสถ์ของวัดได้อย่างชัดเจน และสามารถนั่งเรือไปเที่ยวชมได้ แต่ในช่วงน้ำขึ้นน้ำจะท่วมสูงเกือบทั้งหมดเหลือเพียงยอดของโบสถ์ให้เห็นเท่านั้น กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันซีนไทยแลนด์ ในชื่อ "เมืองบาดาล" ด้วยและปิดท้ายด้วยการไปไหว้ "หลวงพ่ออุตตมะ" ณ วัดวังก์วิเวการาม ซึ่งอยู่เลยจากตัวอำเภอสังขละบุรีไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นวัดจำพรรษาของ "หลวงพ่ออุตตมะ" พระที่เคารพนับถือของประชาชนชาวไทย ชาวมอญ รวมทั้งชาวกะเหรี่ยงและพม่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ภายในวิหารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อนอันงดงามชาวบ้านเรียกกันว่า "หลวงพ่อขาว" และจากวัดวังก์วิเวการามแยกไปอีก 1 กิโลเมตร จะเป็นที่ตั้งของเจดีย์แบบพุทธคยา มีลักษณะฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นกระดูกนิ้วหัวแม่มือขวา ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร บริเวณใกล้เจดีย์มีร้านจำหน่ายสินค้าจากพม่าหลายร้านจำพวกผ้า แป้งพม่า และเครื่องไม้ในราคาย่อมเยาการเดินทางจากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสองเลนตลอดถึงอำเภอไทรโยค ทางถนนพระบรมราชชนนีหรือเพชรเกษม จากตัวเมืองกาญจนบุรี ใช้เส้นทางหลวง 323 สู่อำเภอไทรโยค อำเภอทองผาภูมิ แล้วเลี้ยวขวาไปอำเภอสังขละบุรี ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานกาญจนบุรี โทรศัพท์ 0-3451-1778, 0-3151-2399 และประชาสัมพันธ์จังหวัดกาญจนบุรี โทรศัพท์ 0-3451-2410, 0-3451-4756เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เที่ยวสังขละ...เมืองแสนสงบ สุดชายแดนไทยฝั่งตะวันตก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แค่หกส่วนก็พอ
ที่กรุงไทเปมีผู้รับเหมาก่อสร้างคนหนึ่ง เป็นคนหนุ่มที่ชาญฉลาดที่รู้กันทั้งวงการ มีหัวการค้าเป็นเลิศ ทำงานคล่องแคล่วว่องไว พร้อมลุยงานหนัก...
-
ผมไม่เคยรู้จักหลวงปู่สุภา พระเกจิชื่อดัง กระทั่งทราบข่าวท่านละสังขารทางหนังสือพิมพ์ พอได้อ่านคอลัมสกู๊ปหน้า 1 ไทยรัฐ วันที่ 5 กันยายน 2...
-
ฝั่งทะเลอันดามัน 1.หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะที่โดดเด่นด้วยน้ำทะเลสีฟ้าใสและหาดทรายขาวนวลละเอียดราวกับผงแป้ง หัวใจของสิมิลันคือ หินเรือใบที่โ...
-
" ....... Goal without Action , Just Dreaming ........ " "....... เป้าหมายที่ไม่ลงมือทำ มันก็แค่ความฝันตื่นหนึ่ง .....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น