วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันนี้เป็นวันแรกที่พอจะเข้าใจการนับคลื่น
หลังจากที่ได้อ่านหนังสือ "เกิดมาเทรด" ของอาจารย์หยงๆ
(ใครให้ความรู้กับเรา เราก็ขอยกย่องให้เป็นอาจารย์ของเรา โดยท่านเหล่านั้นไม่รู้ตัวหรอก)
เมื่อก่อนที่มองไม่ออกและก็ไม่ได้สนใจ เพราะคิดว่า เทรดได้กำไลก็พอแล้วนิ
แต่เมื่อออกมามองอย่างที่อาจารย์ว่า เราก็เหนื่อยน้อยลง ไม่ต้องเข้าออกบ่อยๆ (เสียค่านายหน้าเปล่าๆ)
ที่สำคัญ ทำให้เรารู้ว่า หุ้นที่เราถืออยู่นั้น ตอนนี้อยู่ในคลื่นใหน
ในพอร์ตของเราตอนนี้มี 12 ตัว
บางตัวอยู่ในช่วงพักฐาน(ทำให้รู้ว่าเข้าผิด ถึงไม่ติดลบแต่ก็เสียเวลาเปล่าๆ)
บางตัวอยู่ในคลื่นที่หนึ่ง(ขึ้นมานิดหน่อย)
บางตัวอยู่ในคลื่นที่ห้า(ซึ่งต้องค่อยระวังอย่างใกล้ชิด มิเช่นนั้นจะขาดทุนหรือทุนกำไรได้)
ทั้งที่เมื่อก่อนไม่เคยให้ความสำคัญกับมันเลยจริงๆ เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจจึงปล่อยให้ผ่านเลยไป
จึงขอขอบคุณอาจารย์หยงๆ และทีมงาน สต็อคทูมอร์โรว์ ที่มีหนังสือดีๆ มาให้เราอ่าน
หลังจากที่ได้อ่านหนังสือ "เกิดมาเทรด" ของอาจารย์หยงๆ
(ใครให้ความรู้กับเรา เราก็ขอยกย่องให้เป็นอาจารย์ของเรา โดยท่านเหล่านั้นไม่รู้ตัวหรอก)
เมื่อก่อนที่มองไม่ออกและก็ไม่ได้สนใจ เพราะคิดว่า เทรดได้กำไลก็พอแล้วนิ
แต่เมื่อออกมามองอย่างที่อาจารย์ว่า เราก็เหนื่อยน้อยลง ไม่ต้องเข้าออกบ่อยๆ (เสียค่านายหน้าเปล่าๆ)
ที่สำคัญ ทำให้เรารู้ว่า หุ้นที่เราถืออยู่นั้น ตอนนี้อยู่ในคลื่นใหน
ในพอร์ตของเราตอนนี้มี 12 ตัว
บางตัวอยู่ในช่วงพักฐาน(ทำให้รู้ว่าเข้าผิด ถึงไม่ติดลบแต่ก็เสียเวลาเปล่าๆ)
บางตัวอยู่ในคลื่นที่หนึ่ง(ขึ้นมานิดหน่อย)
บางตัวอยู่ในคลื่นที่ห้า(ซึ่งต้องค่อยระวังอย่างใกล้ชิด มิเช่นนั้นจะขาดทุนหรือทุนกำไรได้)
ทั้งที่เมื่อก่อนไม่เคยให้ความสำคัญกับมันเลยจริงๆ เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจจึงปล่อยให้ผ่านเลยไป
จึงขอขอบคุณอาจารย์หยงๆ และทีมงาน สต็อคทูมอร์โรว์ ที่มีหนังสือดีๆ มาให้เราอ่าน
เที่ยวสังขละ...เมืองแสนสงบ สุดชายแดนไทยฝั่งตะวันตก
สังขละ...เมืองแสนสงบไม่ว่าจะฤดูไหน ๆ ความงดงามของ สังขละบุรี อำเภอเล็ก ๆ สุดเขตชายแดนไทยฝั่งตะวันตกของจังหวัดกาญจนบุรี ก็มีเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนแวะเวียนเดินทางมาสัมผัสกับความสวยที่แตกต่างและแปลกตาออกไป รวมถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวบ้าน ที่ยังคงดำเนินไปเฉกเช่นเมื่อครั้งวันวาน ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวกระโดดไปไกลแค่ไหน แต่เวลา ณ สังขละบุรี ก็ยังคงเนิบนาบไปอย่างช้า ๆ ไปตามจังหวะชีวิตของมัน"สังขละบุรี" เป็นอำเภอที่ติดต่อกับชายแดนพม่า ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีประมาณ 215 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 เส้นทางนี้ตัดผ่านภูเขาเลียบทะเลสาบเขื่อนวชิราลงกรณ์ เราสามารถมองเห็นทัศนียภาพทะเลสาบที่งดงามได้ ตัวอำเภอสังขละบุรี ตั้งอยู่บริเวณที่ลำน้ำสามสายมาบรรจบกัน อันได้แก่ แม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตี รวมเรียกว่า "สามประสบ" ไหลรวมกันเป็นแม่น้ำแควน้อยทั้งนี้ อำเภอสังขละบุรี ถือเป็นอำเภอที่มีชาวมอญมาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงสามารถพบเห็นวิถีชีวิตประเพณีเก่าแก่แบบดั้งเดิมของชาวมอญ ณ ที่แห่งนี้ นอกจากนี้ ภาพชินตาอีกหนึ่งอย่างที่พบเห็นได้เสมอ คือ การแต่งกายตามแบบวัฒนธรรมของชาวไทยรามัญ หรือการนำสิ่งของทูนบนศีรษะเดินไปไหนมาไหนสิ่งหนึ่งที่พลาดไม่ได้เมื่อมาเยือนที่แห่งนี้ นั่นก็คือ การได้ไปยืนเป็นส่วนหนึ่งของ "สะพานไม้สังขละบุรี" หรือ "สะพานอุตตมานุสรณ์" ซึ่งเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย พร้อม ๆ กับเชื่อมโยงสายใยเล็ก ๆ ของสองเชื้อชาติ (ชาวไทยและชาวมอญ) ไว้ด้วยกันอย่างมั่นคง แข็งแรง และนับเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของสังขละบุรี ทำให้ในแต่ละวันมีผู้คนมากมายมาเยี่ยมชมสะพานแห่งนี้ ที่ซึ่งทอดข้ามลำน้ำซองกาเลียท่ามกลางทิวทัศน์ที่งดงาม
หรือนั่งเรือชิล ๆ เพื่อซึมซับทิวทัศน์สองข้างทาง เพื่อชม "เมืองบาดาล" ซึ่งในอดีตเป็น วัดวังก์วิเวการาม โดย หลวงพ่ออุตตมะ, ชาวบ้านอพยพ ชาวกะเหรี่ยง และชาวมอญ ได้ร่วมกันสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2496 ในบริเวณที่เรียกว่า "สามประสบ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 มีการก่อสร้าง "เขื่อนเขาแหลม" หรือ "เขื่อนวชิราลงกรณ์" ทำให้น้ำเข้าท่วมตัวอำเภอสังขละบุรีเก่ารวมทั้งวัดนี้ด้วย จึงได้ย้ายวัดมาอยู่บนเนินเขา ส่วนวัดเดิมได้จมอยู่ใต้น้ำมานานนับสิบปีทั้งนี้ ในช่วงฤดูแล้งราวเดือนมีนาคม-เมษายน น้ำลดจนสามารถสังเกตเห็นตัวโบสถ์ของวัดได้อย่างชัดเจน และสามารถนั่งเรือไปเที่ยวชมได้ แต่ในช่วงน้ำขึ้นน้ำจะท่วมสูงเกือบทั้งหมดเหลือเพียงยอดของโบสถ์ให้เห็นเท่านั้น กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันซีนไทยแลนด์ ในชื่อ "เมืองบาดาล" ด้วยและปิดท้ายด้วยการไปไหว้ "หลวงพ่ออุตตมะ" ณ วัดวังก์วิเวการาม ซึ่งอยู่เลยจากตัวอำเภอสังขละบุรีไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นวัดจำพรรษาของ "หลวงพ่ออุตตมะ" พระที่เคารพนับถือของประชาชนชาวไทย ชาวมอญ รวมทั้งชาวกะเหรี่ยงและพม่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ภายในวิหารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อนอันงดงามชาวบ้านเรียกกันว่า "หลวงพ่อขาว" และจากวัดวังก์วิเวการามแยกไปอีก 1 กิโลเมตร จะเป็นที่ตั้งของเจดีย์แบบพุทธคยา มีลักษณะฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นกระดูกนิ้วหัวแม่มือขวา ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร บริเวณใกล้เจดีย์มีร้านจำหน่ายสินค้าจากพม่าหลายร้านจำพวกผ้า แป้งพม่า และเครื่องไม้ในราคาย่อมเยาการเดินทางจากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสองเลนตลอดถึงอำเภอไทรโยค ทางถนนพระบรมราชชนนีหรือเพชรเกษม จากตัวเมืองกาญจนบุรี ใช้เส้นทางหลวง 323 สู่อำเภอไทรโยค อำเภอทองผาภูมิ แล้วเลี้ยวขวาไปอำเภอสังขละบุรี ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานกาญจนบุรี โทรศัพท์ 0-3451-1778, 0-3151-2399 และประชาสัมพันธ์จังหวัดกาญจนบุรี โทรศัพท์ 0-3451-2410, 0-3451-4756เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
แค่หกส่วนก็พอ
ที่กรุงไทเปมีผู้รับเหมาก่อสร้างคนหนึ่ง เป็นคนหนุ่มที่ชาญฉลาดที่รู้กันทั้งวงการ มีหัวการค้าเป็นเลิศ ทำงานคล่องแคล่วว่องไว พร้อมลุยงานหนัก...
-
ผมไม่เคยรู้จักหลวงปู่สุภา พระเกจิชื่อดัง กระทั่งทราบข่าวท่านละสังขารทางหนังสือพิมพ์ พอได้อ่านคอลัมสกู๊ปหน้า 1 ไทยรัฐ วันที่ 5 กันยายน 2...
-
ฝั่งทะเลอันดามัน 1.หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะที่โดดเด่นด้วยน้ำทะเลสีฟ้าใสและหาดทรายขาวนวลละเอียดราวกับผงแป้ง หัวใจของสิมิลันคือ หินเรือใบที่โ...
-
" ....... Goal without Action , Just Dreaming ........ " "....... เป้าหมายที่ไม่ลงมือทำ มันก็แค่ความฝันตื่นหนึ่ง .....