วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

แค่หกส่วนก็พอ

ที่กรุงไทเปมีผู้รับเหมาก่อสร้างคนหนึ่ง  เป็นคนหนุ่มที่ชาญฉลาดที่รู้กันทั้งวงการ  มีหัวการค้าเป็นเลิศ  ทำงานคล่องแคล่วว่องไว  พร้อมลุยงานหนักมาตลอด  หลายๆปีผ่านไป  ก็ไปได้ไม่ไกล  สุดท้ายหนี้สินล้นพ้นตัว  จนถูกฟ้องล้มละลายในที่สุด

ในช่วงที่ชีวิตตกอับสุดๆ  เขามักนั่งวิเคราะห์ถึงจุดบอดจุดอ่อนของตนอย่างละเอียด  แต่ก็หาคำตอบให้ตนเองไม่ได้สักที

เพราะหากพูดถึงความเฉลียวฉลาด  ความขยัน  การวางแผน  เขาไม่แพ้คนอื่นแน่นอน  แต่ทำไมคนอื่นประสบความสำเร็จไปได้ดีกันทั้งนั้น   แต่เขากลับห่างไกลจากความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ  จนปัญญาสุดๆไม่รู้จะหันหน้าไปทางไหน 

มีอยู่วันหนึ่งเขาเดินผ่านแผงขายหนังสือพิมพ์ข้างทาง ด้วยอารมณ์ที่เซ็งสุดกู่อยู่แล้ว  ก็เลยซื้อหนังสือพิมพ์ติดมือมาฉบับหนึ่ง เปิดอ่านอย่างไม่ได้ตั้งใจ อ่านๆไป ตาสว่างขึ้นมาในทันใด  มีข้อความหนึ่งบนหนังสือพิมพ์โดนใจแบบจุดประกายให้เขาสว่างไสวขึ้นมาอย่างทันตาเห็น  หลังจากนั้น  เขากลับมาเริ่มต้นอาชีพเดิมใหม่อีกครั้งด้วยเงินหนึ่งหมื่นเหรียญเท่าที่เขามีอยู่ในตอนนั้น

การกลับมาครั้งนี้  ธุรกิจของเขาเหมือนมีเวทย์มนต์  เริ่มจากรับตกแต่งร้านขายโชห่วยเล็กๆ  ค่อยๆเดินใหม่ทีละก้าว จนสามารถลุยไปรับสร้างโรงงานปูนซีเมนต์  เริ่มจากการรับงานเหมาเล็กๆน้อยๆจากคนอื่นมาอีกทอดหนึ่ง  จนสุดท้ายสามารถรับงานใหญ่ด้วยตัวเองอย่างเต็มรูปแบบ  มีแต่ความราบรื่นมาตลอดทาง  คนที่ร่วมค้าร่วมทุนหรือร่วมมือกับเขา  ล้วนมีแต่ความสบายอกสบายใจและปนความแปลกใจในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของเขา  ภายในเวลาไม่กี่ปี  ทรัพย์สินของเขาเพิ่มจำนวนเป็นมูลค่าถึงร้อยล้านเหรียญ  กลายเป็นเรื่องเล่าแสนมหัศจรรย์ในวงการก่อสร้าง

นักข่าวมากมายขอสัมภาษณ์เคล็ดลับในการกลับมาผงาดอย่างสง่าผ่าเผยของเขา  เขาแค่พูดประโยคสั้นๆเพียงสี่พยางค์ว่า  "รับแค่หกส่วน"  เมื่อกาลเวลาผ่านไปปีแล้วปีเล่า  ทรัพย์สินของเขาก็เพิ่มเป็นหมื่นล้านเหรียญในที่สุด

มีอยู่ครั้งหนึ่ง  เขารับเชิญไปเป็นองค์ปาฐกที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง  คำถามจากนักศึกษาล้วนถามเกี่ยวกับเคล็ดลับอะไรที่ทำให้เขาสามารถแปลงเงินหมื่นเหรียญเป็นหมื่นล้านเหรียญ  เขายิ้มก่อนตอบว่า  "เพราะผมมักยืนกรานเสมอว่า  ขอรับน้อยลงสักสองส่วนสิบ"  สร้างความงุนงงให้กับเหล่านักศึกษายิ่งขึ้น 

เขามองหน้านักศึกษาทุกคนที่มีสายตาเต็มไปด้วยความอยากรู้แห่งความสำเร็จของเขา  ในที่สุด  เขาจึงเริ่มต้นเล่าชีวิตจากช่วงที่เขาตกอับที่สุด  เขาบอกว่าเขาเจอหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งโดยบังเอิญ  มีบทสัมภาษณ์นายลีเจอะไค่  ซึ่งเป็นลูกชายของนายลีกาชิง  มหาเศรษฐีชาวฮ่องกง  นั่นคือบทความที่จุดประกายให้มุมมองของเขาเปลี่ยนไป

คนสัมภาษณ์ถามนายลีเจอะไค่ว่า  "คุณพ่อของคุณสอนเคล็ดลับอะไรให้คุณในการทำการค้า"

นายลีตอบว่า  "ท่านไม่ได้สอนเคล็ดลับอะไรเกี่ยวกับเรื่องการค้าหรือการหาเงิน  แต่ท่านเน้นสอนวิธีการวางตัวที่เหมาะสมให้ผม"

นายลีพูดต่อว่า  "คุณพ่อย้ำเตือนผมอยู่เสมอ  ลูกจะร่วมมือทำการค้าอะไรกับใครก็ได้  หากลูกได้รับส่วนแบ่งของกำไรมา  เจ็ดส่วนสิบอาจจะดูสมเหตุสมผล  แปดส่วนก็พอได้  แต่ตระกูลลีของเรา  "รับแค่หกส่วน"  ก็เพียงพอแล้ว"

เมื่อพูดมาถึงตอนนี้  เขาซึ่งยืนอยู่บนเวทีพูดอย่างเน้นย้ำว่า  "บทสัมภาษณ์บทนี้  ผมบรรจงอ่านไม่ต่ำกว่าร้อยเที่ยว  และในที่สุด  ผมก็คิดว่าผมสามารถเข้าใจถึงแก่นแท้ของมัน  จุดสูงสุดของการวางตัวก็คือ  "ความใจกว้าง"  เพราะฉะนั้น  "ความหลักแหลม"ที่สุดของมนุษย์ก็คือ "ความใจกว้าง"

ลองคิดสักนิดจะตระหนักว่า  นายลีกาชิงมักจะยินดีให้คนอื่นได้มากกว่าอีกสองส่วน  มันจึงเป็นสาเหตุที่ว่า  ใครๆก็อยากร่วมมือร่วมทุนกับนายลีกาชิง  เพราะมีแต่ได้กับได้

แม้นายลีกาชิงมักจะยินดีที่จะรับแค่หกส่วนแทนที่จะรับแปดส่วน โอกาสการทำธุรกิจจึงเพิ่มขึ้นมากมาย  ใครมีโปรเจ็คหรือโอกาสก็มักจะมาหาเขาก่อน  ลองคิดดูว่าถ้าเขารับเต็มจำนวนทั้งแปดส่วน  โอกาสร้อยครั้งอาจจะลดลงมาเหลือไม่กี่ครั้ง  สรุปแล้ว  ส่วนไหนจะได้เงินมากกว่า  นั่นคือเคล็ดลับของความสำเร็จ"

"ผมประสบความล้มเหลวในช่วงแรกของชีวิต  ล้วนมาจากการคิดเล็กคิดน้อยไม่ยอมให้มีอะไรเล็ดลอดหรือเสียเปรียบใคร  ตรงกันข้าม  กลับพยายามเค้นหาผลประโยชน์จากคู่ค้าให้มากเข้าไว้  เพราะคิดว่ากำไรยิ่งสูง  ก็ย่อมหมายถึงความสำเร็จที่หอมหวาน  ในที่สุด  อาจดูดีเหมือนมีกำไรดีในวันนี้  แต่กลับพ่ายแพ้เสียอนาคตและโอกาสไปหมด"

ก่อนจบการปราศัย  เขาได้หยิบเอาหนังสือพิมพ์เก่าๆออกมาจากกระเป๋าเอกสาร  นั่นก็คือบทความที่เขาเอ่ยถึง  หลายๆปีนี้  เขานำมันติดตัวเสมอ  เพียงเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจเตือนสติตัวเขาเอง  บนช่องว่างของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น  เขาใช้พู่กันจีนเขียนตัวหนังสือเล็กๆอย่างบรรจงว่า..... 
"เจ็ดส่วนสิบอาจจะดูสมเหตุสมผล  แปดส่วนก็คงได้  แต่ผมขอแค่หกส่วนสิบก็เพียงพอแล้ว"

นักธุรกิจในวงการอสังหาริมทรัพย์ผู้นี้  นามว่านายหลิน เจิ่น เจีย  เป็นประธานบริษัท ฉวนเซิ่น พัฒนาอสังริมทรัพย์ จำกัด แห่งกรุงไทเป  ปัจจุบันเขาเป็นเศรษฐีระดับต้นๆของใต้หวัน เขาบอกว่า  ที่เล่ามาทั้งหมดนั้น  ก็คือจุดเริ่มต้นของที่มาของทรัพย์สินหมื่นล้านเหรียญของเขาในวันนี้
 
         ***********

การมุ่งหาผลประโยชน์สูงสุด
เป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆเขาก็ทำกัน
แต่หากรู้จักแบ่งปันผลประโยชน์ให้ผู้อื่น
เขาผู้นั้นคือคนเหนือคน

คนใจกว้างที่ซื่อสัตย์ 
หนทางชีวิตเขาจะทั้งกว้างทั้งยาวไกลกว่าเสมอ

ที่มา "ขจรศักดิ์"

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ปัญหาธุรกิจส่วนใหญ่ จริงๆ ต้องใช้ หู แก้!!




นี่คือ Trend ใหญ่ที่จะเกิดในตลาดหุ้นทั่วโลกและไทยด้วย เหมือนกัน คือ 'รวมเพื่อโต'

นี่เพิ่งอ่านบทความที่พูดถึงการรวมตัวของค่ายรถใหญ่ Renault - Nissan - Mitsubishi ภายใต้การนำของ นักบริหารชั้นเทพอย่าง Carlos Ghosn ..ผู้ชายคนนี้ต้องบอกว่า เก่งเทพ เพราะเขาพลิกฟื้นทั้ง Ranault และ Nissan ให้กลับมากำไรได้ในเวลาอันสั้น ล้างการขาดทุนและพลิกเป็นบริษัทน้ำดี 

แนวทาง Carlos Ghosn ทำในการพลิกฟื้นธุรกิจ ก็คือ ลดต้นทุน รวมสิ่งที่ไม่จำเป็น แล้วก็โฟกัสสิ่งที่จำเป็น ...เขาเชื่อในความสามารถขององค์กรจากภายใน

การแก้ไขปัญหาของ Carlos หลักๆ คือใช้ 'หู' เขาจะลงไปคุยไปประชุมกับทุกส่วนของบริษัทเพื่อหารูรั้วด้วยตัวเอง ...เพราะเขาเชื่อว่า 'ทุกองค์กรที่มีปัญหา จริงๆ พนักงานมีทางแก้อยู่แล้ว เพราะพนักงานรู้จักลูกค้ามากกว่าผู้บริหาร ..ดังนั้น สิ่งที่ผู้บริหารองค์กรใหญ่ไม่มีคือ หู!!' 

เจสสส!! แรงโคตร ..แต่ผมว่ามันโดน เพราะถ้าจะแก้ปัญหามันต้องเข้าใจปัญหาก่อน

ไม่ใช่กางตำรา Business แล้วเอา ทฤษฎีมาพูด แก้จากข้างนอก แล้วมันจะแก้ได้ไง ?

 ..มันต้องเข้าใจ DNA ของแต่ละองค์กร จากนั้นก็หาจุดรั้ว แล้วก็ค้นหา Talent ที่พร้อมจะโชว์ศักยภาพ เพียงแต่ขาดเวทีให้เขาแสดงฝีมือ 

ใช่!! ธุรกิจยุคนี้กำลังเจอการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ผู้บริหารมักจะมืดแปดด้าน เพราะมัวแต่นั่งอยู่ในออฟฟิศ แทนที่จะไปถามพนักงานที่เข้าใจลูกค้า แล้วตั้งทีมแก้ปัญหาแล้วดึงคนมีศักยภาพที่ทั้งรู้งานและรู้วัฒนธรรมองค์กรขึ้นมาแสดงฝีมือ

ที่คุยมา จะชี้ว่า วันนี้องค์กรใหญ่กำลังเจอวิกฤต แต่จริงๆ การแก้ปัญหา มันสามารถทำได้ ซึ่ง Carlos Ghosn ก็ทำให้เห็นแล้วว่า 'ปัญหาเริ่มจากภายใน แก้จากข้างใน แล้วค่อยๆ ทำออกมาข้างนอก' (Inside Out)

สุดท้ายผมเชื่อว่าบริษัทในตลาดส่วนใหญ่จะผ่านมรสุมเศรษฐกิจโลกและประเทศไปได้ โดยใช้การ 'ควบรวม' เนื่องจากวันนี้เงินล้นระบบ ธุรกิจใหญ่ๆ หาเงินทุนไม่ยาก ...การควบรวมก็คือ รวมเพื่อตัดของเสีย และส่งเสริมของดี

ผลก็คือ บริษัทจะโอเค วิกฤตจะผ่านไป คนเก่งจะรุ่งเร็วในองค์กร แต่ผลเสียจะตกกับพนักงานที่ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม หรือ พนักงานที่ทำงานซ้ำซ้อนกันจะถูกให้ออกจากงาน

'ลดต้นทุนตัดคน ดันคนเก่ง ตัดงานซ้อน ลดสินค้า แต่ดันสินค้าที่ดีให้ยิ่งเด่น' 

ในฐานะถ้าคุณเป็นนักลงทุน ลองศึกษาโอกาสจากจุดนี้ ผมว่า เราจะเจอหุ้นเด็ดหลายตัวเลยที่จะโตจากรวมแล้วโตเร็ว

..ส่วนถ้าคุณเป็นพนักงาน ต้องมาทบทวนให้ดีว่า งานเราเป็นงานที่ใครๆก็ทำได้หรือเปล่า ถ้าใช่ต้องรีบพัฒนาความสามารถตัวเองให้โดดเด่น แล้วพยายามเป็นลูกจ้างที่คิดและทำงานแบบเหมือนเป็นธุรกิจส่วนตัว คือ ใส่ใจกับเสียงของลูกค้า และเข้าใจภาพรวมของธุรกิจไปพร้อมๆกัน

"ธรรมะ คือ ธรรมชาติ"

เป็นเรื่องน่าคิดที่ธรรมชาติ อนุญาตให้บรรดาสัตว์โลกทั้งหลายมีชีวิตอยู่บนโลกนี้นับเป็นวันได้โดยเฉลี่ยดังนี้
-แมลงเม่า   1 วัน
-มด  21  วัน
-ปลากะตัก  21 วัน
-แมงปอ  120  วัน
-ปลาหางนกยูง 120 วัน
-กระต่าย 1,825 วัน
-สุนัข  5,475 วัน
-ม้า  10,950  วัน
-มนุษย์ 25,550 วัน
-ช้าง 36,500 วัน
-เต่า 73,000 วัน
    ทุกชีวิตมีเวลาที่ธรรมชาติอนุญาตให้อยู่ได้ ตามวงจรชีวิตของแต่ละสายพันธิ์ถ้านับเป็นวันแล้ว น้อยมากจริงๆ ยิ่งมนุษย์้แล้ว
ถ้าอายุครบ 60 ปี ก็เท่ากับเวลาผ่านไปแล้ว 22,000 วัน
เวลาก็ยิ่งเหลือน้อยนิดลงไปอีกเหลือเพียงไม่กี่วันเอง บวกลบได้ไม่มากมายหรอก ถึงจะมั่นใจว่าตัวเองยังสุขภาพดีอยู่ก็ตาม
 ดังนั้นการใช้เวลาที่เหลือ ในการดำรงชีวิตอย่าได้หลงระเริงโดยเด็ดขาด จะต้องยึดหลักปฎิบัติของพระพุทธองค์เป็นหลัก ให้หมั่นสร้างบุญ สร้างกุศล หมั่นทำความดี เตรียมตัว เตรียมใจให้พร้อม จัดการเรื่องราวต่างๆให้เรียบร้อย โดยเฉพาะสำหรับลูกหลานและคนที่ยังอยู่ข้างหลัง และต้องลดละเลิก การสะสม ลดโมหะ โทสะ โลภะ ทั้งปวง เตรียมตัวนับถอยหลังเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต และพร้อมที่จะจากโลกนี้ไปได้ในทุกเวลาอย่างมีความสุข เพราะเข้าใจในสิ่งธรรมชาติกำหนดไว้แล้ว จงจำไว้ว่า
 "ธรรมะ คือ ธรรมชาติ"
   
   /ศิษย์ท่านพุทธทาส

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เขา และ เรา ต่างกันยังไง




'เขา และ เรา' ..ทำไม 'เขา' ดี ..แต่เราแย่ ...เขามีเงิน แต่เรามีแต่หนี้ ..เขาน่าอิจฉา เขาน่าหมั่นไส้ !!

- ว่าแต่ 'เขา' และ 'เรา' ต่างกันอย่างไร ? 

1. งานที่เขาทำ เขาไม่คิดเกษียณจากงานนั้นเลย (แปลว่า หลังอายุ 60 เขาก็ยังทำงานนั้นต่อไป) 

..แต่เราตรงข้าม เราอยากรีบๆรวย จะได้เลิกทำงานที่เราต้องทนทำเสียที !!

2. เขาให้คุณค่ากับการทำงานมากกว่าการพักผ่อน เพราะ 'เขาสนุกกับงาน' 

..แต่เราตรงข้าม เราทำงานแบบให้เสร็จๆ เพื่อจะได้ไปเตรียมการท่องเที่ยว พักผ่อน !! 

3. เขาไม่ค่อยเสียเวลามาโชว์ชีวิตไฮโซ หรือ โชว์ว่าเขาใช้เงินไร้สาระเพียงไหน ..ไม่มานั่งอวดรวย แต่เขาชอบโชว์ผลงานของเขา ..ชอบโชว์ความคิด ..ชอบโชว์งานที่เขาทำ

 ...แต่เราตรงข้าม เราไม่อยากให้คนอื่นรู้หรอกว่าเราทำอะไร เราแค่อยากโชว์ว่าเราใช้เงินเก่งขนาดไหนให้คนอื่นมองเห็นตัวเราบ้างผ่านสิ่งที่เราจ่ายเงินซื้อมา (โอววว !!)

4. เขามีพัฒนาการเติบโตไปเรื่อยๆ พร้อมงานที่เขาทำ เพราะเขามี Passion มีความรักในงานของเขา จึงเติบโตไม่หยุดยั้ง

 ...แต่เราแสนจะเบื่องานของเรา แต่ไม่กล้าที่จะเปลี่ยน และก็ไม่เคยคิดว่าจะเปลี่ยนยังไง สุดท้ายเราก็ทนทำงานที่ไม่ชอบไปเรื่อยๆ นั่นแหละ 

ใช่!! ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอาชีพไหน ถ้าคุณอยากเปลี่ยนตัวเองให้ดีขึ้น ลองเปลี่ยนความคิดในเรื่อง 'งาน' ให้คิดแบบเขาคนนั้นที่เราหมั่นไส้!!  ...แล้วชีวิตคุณจะมีความสุขและสำเร็จมากขึ้น

แค่เปลี่ยน มุมมอง เรื่อง 'งาน' ใหม่ ทั้งชีวิตก็เปลี่ยนแล้ว

ผมลองแล้ว มัน work จริงๆ ..ผมสนุกกับ 'งาน' มากขึ้น ..ผมจมตัวเองอยู่กับสิ่งที่ผมทำเพื่อสร้างผลงานบางอย่างที่ผมมีความสุข ..และสุดท้ายคนอื่นก็เริ่มเห็นคุณค่าตัวเราจากสิ่งที่เราทำ ...สนุกครับ ลองดูซิ 

เทรดหุ้นโบรคไหน ค่าคอมถูกสุด



กำลังมองหาโบรคที่ค่าคอมถูกๆ และไม่มีขั้นต่ำ อยู่ใช่ไหม ?
SBITO ค่าคอมถูกสุดในตลาด ถูกจนต้องร้องขอชีวิต
พร้อมโปรโมชัน เทรดฟรีเดือนเกิด อีกตะหาก

สนใจสมัคร ตามลิงก์ไปโลด ^^
http://www.sbito.co.th


















ความหวัง ทางเลือก และแผนสำรอง ของนักลงทุน




การจะเป็นนักลงทุนที่ดี ประสบความสำเร็จ และที่สำคัญที่สุดคือมีความสุข จะต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ เรียกว่ากลยุทธ์ภาพใหญ่ของชีวิตการลงทุนเลยก็ว่าได้ โดยทั่วไปสำหรับส่วนตัวแล้วจะมีแผนหลักอยู่สามอย่าง ซึ่งถ้าพิจารณาให้ดีแล้วสามารถใช้ได้ทั้งกับการลงทุนและกับการดำเนินชีวิตจริงๆ ด้วย นั่นก็คือ:

1) ความหวังและกำลังใจ คุณพ่อผมเคยสอนไว้เสมอว่า ไม่ว่าจะทำอะไรอย่าได้หมดกำลังใจเป็นอันขาด เพราะการหมดกำลังใจจะทำให้หมดสิ้นทุกอย่าง กำลังใจและความหวังเป็นของคู่กัน เมื่อพูดถึงความหวัง ก็ต้องหวังอย่างเป็นไปได้ มีแผนการ มีวิธีการ อาจจะคิดเอง อาจจะลอกและดัดแปลงสิ่งที่คนอื่นทำเพื่อให้ดีขึ้น หาผู้ช่วยคิดช่วยทำ เมื่อมีความฝันก็จงเดินไปให้ถึง ในการลงทุน เราอาจจะหวังให้มีเงินสัก 20-30 ล้านบาท หรือ 1,000 ล้านบาท หรือมีรายได้ไหลเข้ามาโดยไม่ต้องทำงานเองเดือนละ 100,000 บาท หรือ 500,000 บาท ก็แล้วแต่คน แน่นอนว่าใครก็อยากได้ตัวเลขสูงแต่ต้องแลกมาด้วยการทำงานมากกว่าและเวลาที่นานกว่า ถ้าของเหล่านี้ไม่สมดุลกันการตั้งความหวังจะกลายเป็นไม่สมเหตุสมผลและมักจะผิดหวังไปในที่สุด

2) ทางเลือก คือมีหลายแผน แผนแต่ละอย่างมีหลายทางเลือก และวางขั้นตอนกลยุทธ์การตัดสินใจไว้เป็นขั้นตอน สำหรับการลงทุนในหุ้น เราอาจจะมองหุ้นไว้หลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มที่เติบโตตามกัน ตรงกันข้ามกัน หรือกลุ่ม defensive (คือ สามารถทำกำไรได้เรื่อยๆ เป็นของต้องกินต้องใช้ ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจเป็นอย่างไร บริษัทกลุ่มนี้ก็ยังทำกำไรได้) ทำให้เราวสารถตัดสินใจลงทุนได้เสมอเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป นี่รวมถึงการถือเงินสดเอาไว้เป็นสัดส่วนเท่าไรอีกด้วย

ในการลงทุน เราสามารถจัดสัดส่วนของสินทรัพย์ต่างๆ และโยกย้ายไปมาได้

3) สุดท้าย คือมีแผนสำรอง บางครั้งในธุรกิจเรียกว่า ทางออกหรือ Exit Strategy ซึ่งอาจจจะเป็นการขายกิจการให้คนอื่น การแปรรูปกิจการแล้วขายไป การแยกชิ้นส่วนขายออก เป็นต้น แต่สำหรับการลงทุน เราคงไม่สามารถเล่นแร่แปรธาตุกับหุ้นได้มากนัก อาจจะจำเป็นต้องขายตัดขาดทุนออกไปเมื่อแน่ใจว่าคิดผิดจริงๆ ซึ่งต้องคำนวณไว้ก่อนว่าเราสามารถยอมขาดทุนได้ที่เท่าไร หรือหากไม่แน่ใจก็ขายออกครึ่งหนึ่งก่อนก็ได้ รวมทั้งคอยซื้อกลับคืนภายหลังเมื่อพิจารณาแล้วว่าที่จริงนั้นคิดได้ถูกต้อง (ถ้าซื้อกลับมาได้ด้วยราคาต่ำกว่าที่ขายออกไปก็ถือว่าเป็นกำไรไป)

ที่จริงแล้วจะเห็นว่าหลักการทั้ง 3 ข้อนี้ สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในการดำเนินชีวิตทั่วไป การวางแผนต่างๆ ในการทำงาน และเมื่อมาใช่กับการลงทุนต่างๆ (ไม่จำกัดว่าเป็นการลงทุนในหุ้นเท่านั้น) จะทำให้เรามีแผน มีทางหนีทีไล่ และมีความสุขไปตลอดระหว่างที่เราลงทุน ลองนำไปใช้กันดู เพื่อความสำเร็จอย่างเป็นสุขนะครับ

ที่มา http://muegao.blogspot.com/2016/05/blog-post_26.html

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ซื้อบ้านแบบไหน ชีวิตดี



'ซื้อบ้านแบบไหน ชีวิตดี'

พูดถึงซื้อบ้าน มันเป็นค่าใช้จ่ายครั้งใหญ่ของชีวิต ..อาจจะหนักกว่ารถด้วยซ้ำ ยกเว้นบางคนที่รถแพงกว่าบ้าน (ซึ่งก็มีเยอะอยู่ โดยเฉพาะ Thailand Only อินดี้ เมืองไทย)

บ้านคือ หนึ่ง ตัวแทนความภูมิใจในความสำเร็จ (กู้สำเร็จ แต่ยังผ่อนไม่สำเร็จ อันนี้ปัญหาใหญ่และยาว เพราะมันหลายสิบปีอยู่ ..คิดง่ายๆ แทบไม่มีใครวางแผนเก็บเงินระยะยาว 30 ปี แต่พอจะกู้ ดันกู้ยาว 30 ปี - งง เบย)

สอง บ้านคือสถานที่แสดงอำนาจ ...พูดง่ายๆ ทั้งสองอย่างนี้มันผิดวัตถุประสงค์ของ คำว่า บ้าน แบบคนละโลกเลย

'บ้าน' จริงๆ ไม่ใช่สถานที่ ..สมัยโบราณเราอยู่ในถ้ำ ย้ายไปย้ายมา ตามแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ..เดี๋ยวนี้มาอยู่ในแท่งปูน ย้ายไปมาตามงานที่ทำ

บ้านจริงๆ คือ 'การเชื่อมต่อ คนที่เราอยู่ด้วยแล้วเรา มั่นใจ พักใจ วางใจ คนนั้นก็คือบ้านนั่นเอง ..แทบไม่เกี่ยวกับสถานที่แต่อย่างใด' 

สิ่งที่ต้องคิดในการซื้อบ้าน มีดังนี้

1. 'บ้านต้องอยู่แล้วเย็น' จะให้เย็นต้องไม่เป็นหนี้ หรือ เป็นหนี้เมื่อตัวเองสามารถจ่ายเงินก้อนได้ เพียงแต่เป็นหนี้เพื่อหักภาษี - พูดง่ายๆ คือ ควรซื้อบ้านเมื่อเราสามารถซื้อ 

2. 'ทำเลที่ขายต่อง่าย' ทำเลของบ้านคือมูลค่า แต่ตัวบ้านจริงๆ ไม่มีมูลค่า ดังนั้น ใส่เงินกับทำเลที่เราสามารถขายต่อง่าย ..ทำเลที่มี Supply จำกัด แต่ Demand โตเรื่อยๆ ..ทำเลที่เติบโตทางเศรษฐกิจและทำมาหากินคล่อง

3. 'ไม่เลือกบ้านที่สร้างภาระในการเดินทาง' หลายคนเลือกบ้านที่ไกลหน่อย เพราะราคาถูก แต่สุดท้ายคนส่วนใหญ่ก็เลือกแบบนั้น ทำให้เราใช้ชีวิตเช้าก็แย่งเข้าเมือง เย็นก็แย่งออกเมือง เสาร์อาทิตย์ก็แย่งกันกินชานเมือง วันหยุดยาวก็แย่งกันหนีความวุ่นวายไปเจอความวุ่นวายพร้อมกันอีก ..เฮ้อออ!!

4. 'ไม่สร้างบ้านไว้โชว์ใคร' ให้สร้างบ้านหรือซื้อบ้านที่ตอบโจทย์เรา จะทำให้เราอยู่แล้วสบาย ซึ่งดีกว่าอยู่แล้วดูดีแต่ก็ไม่ได้มีใครสนใจ ?

5. 'บ้านชีวิตชัด' คือบ้านที่ตอบโจทย์ชัดเจน เพียงอย่างเดียว เช่น ใกล้โรงเรียน มีโรงพยาบาลดี ใกล้ย่าน Shopping ติดแม่น้ำ ..แต่ต้องเลือกจุดเด่นให้ชัดเพียงอย่างเดียว เพราะ ถ้าดีทุกอย่าง มันจะแพงโดยไม่จำเป็น

ถ้าบ้านยังไม่โดน 5 ข้อนี้ ก็เช่าอยู่จนกว่ามันจะพร้อม ..เพราะการซื้อบ้านในเวลาไม่พร้อม อาจทำให้ 

1. เงินขาดมือเสมอจากค่าผ่อนบ้านที่เกินตัว
2. เลือกทำเลบ้านที่ไม่ดี ราคาไม่ขึ้น ขายต่อไม่ได้ ปล่อยเช่าก็ไม่ได้ ก็หมายความว่า 'ติดคุก'
3. ทำเลบ้านแย่ กระทบงานที่ทำ
4. ทำเลบ้านที่ผิด ทำให้ต้องซื้อรถในเวลาที่เราอาจไม่พร้อม เพิ่มภาระในชีวิตอีกปมใหญ่เช่นกัน
5. ค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดของบ้าน ที่ไม่เหมาะกับตัวเอง ทำให้หลายคนไม่เหลือเงินเก็บเลย

การซื้อบ้านเป็นเรื่องดี แต่ก็เป็นการลงทุนครั้งใหญ่ของชีวิต ที่ต้องคิดหลายๆรอบ เพราะการตัดสินใจครั้งนี้มันจะกระทบกับชีวิตครั้งใหญ่ ..คิดให้ดีๆครับ

แค่หกส่วนก็พอ

ที่กรุงไทเปมีผู้รับเหมาก่อสร้างคนหนึ่ง  เป็นคนหนุ่มที่ชาญฉลาดที่รู้กันทั้งวงการ  มีหัวการค้าเป็นเลิศ  ทำงานคล่องแคล่วว่องไว  พร้อมลุยงานหนัก...